7 ค่าผลเลือดสำคัญ ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องดูเป็น

7 ค่าผลเลือดสำคัญ ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องดูเป็น

“ผลเลือด” เป็นอะไรที่ผู้ป่วยโรคไต เห็นกันอยู่เป็นประจำ

บางคนก็เห็นทุกเดือน บางคนเห็น 2 หรือ 3 เดือนครั้ง ก็แล้วแต่คุณหมอจะนัด ซึ่งเวลาถึงวันเจาะเลือดทีไร เราก็มักจะแอบลุ้นทุกทีเลยใช่ไหมคะ ว่าผลจะเป็นยังไง (เหมือนลุ้นหวยกันเลยทีเดียว)

เลยเรียกได้ว่าการเข้าใจ ผลเลือด จึงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ป่วยโรคไตมาก ๆ แถมยังเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการรักษาของคุณหมออีกด้วย เพราะการรักษาจะราบรื่นได้ ไม่ใช่แค่คุณหมอแค่ฝ่ายเดียว แต่มันขึ้นกับตัวผู้ป่วยอย่างเราด้วยเช่นกัน

 

 

บทความนี้อายเลยมาสรุป 7 ค่าผลเลือดสำคัญที่ผู้ป่วยโรคไตต้องดูเป็น ให้เข้าใจง่าย ๆ เอาไปใช้ได้จริงมาฝากกันค่ะ

 

1.ค่า BUN บอกอะไรเรา ?

 

BUN หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Blood Urea Nitrogen เป็นการวัดค่าไนโตรเจนจากยูเรีย ที่อยู่ในกระแสเลือดเพื่อตรวจดูการทำงานของไตและตับ แต่เป็นการดูแบบหยาบ ๆ เท่านั้น ถ้าจะให้แม่นยำขึ้นต้องดูร่วมกับค่าอื่น

อย่างเช่น ค่า Creatinine โดยไนโตรเจนที่ว่านี้ จะได้จากการย่อยโปรตีนที่เรากินเข้าไป แล้วเปลี่ยนไปเป็นสารแอมโมเนีย

จากนั้น จะผ่านกระบวนการในร่างกาย จนสุดท้ายจะได้ของเสียที่ชื่อว่า “ยูเรีย” ซึ่งยูเรียที่ได้ จะถูกขับออกมาทางไตพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ปัสสาวะของเราก็เลย มีกลิ่นแอมโมเนียอยู่ด้วยนั่นเอง

แล้วยิ่งใครกินเนื้อสัตว์เยอะ ๆ กลิ่นปัสสาวะก็จะยิ่งแรงขึ้น ยิ่งแรงเท่าไหร่ ก็เป็นตัวบอกว่า ไตกำลังทำงานหนักเท่านั้น โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยโรคไต จะมีค่า BUN สูงกว่าคนปกติ เพราะ ไตเสื่อมเลยกรองออกไม่หมด ซึ่งโดยเกณฑ์ปกติในผู้ใหญ่จะอยู่ที่ 10-20 mg/dL

แต่ BUN จะมีค่าไม่คงที่ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ดื่มน้ำน้อยไป (ร่างกายขาดน้ำ), กินโปรตีนมากเกินไป, ผลข้างเคียงจากยา

 

วิธีลดค่า BUN สำหรับผู้ป่วยโรคไต (เพื่อชะลอไตเสื่อม)

1. ลดกินเนื้อสัตว์ ที่ย่อยยาก

2. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

3. เน้นกินโปรตีนคุณภาพดีย่อยง่าย

 

 

2.ค่าไตรกลีเซอไรด์ บอกอะไรเรา ?

 

ค่านี้ ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลย ก็คือ “ปริมาณไขมันที่แท้จริง” ซึ่งจะให้พลังงาน 9 แคลอรี่ต่อกรัม และเป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย ซึ่งค่านี้เป็นผลรวมของสิ่งที่เรากินเข้าไป เช่น กินไขมัน โปรตีน แป้ง และน้ำตาล ที่มากเกินไป ทำให้ค่านี้สูงขึ้น

ที่สำคัญ พอไตเสื่อมร่างกายจะผลิตไขมันออกมา มากกว่าคนปกติทั่วไป และต่อให้กินไขมันน้อย ร่างกายก็ยังผลิตออกมาเรื่อย ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตจึงมักได้รับ ยาลดไขมัน มาทานกัน

โดยเกณฑ์ปกติในผู้ชาย จะอยู่ที่ 40-160 mg/dL , ในผู้หญิง จะอยู่ที่ 35-135 mg/dL คนที่ไตเสื่อม ค่านี้จึงจะสูงกว่าเกณฑ์ปกติ

 

**การตรวจวัดค่าไตกลีเซอไรด์ที่แม่นยำ จำเป็นต้องงดอาหารอย่างน้อย 12-14 ชั่วโมงด้วยนะคะ**

 

วิธีลดค่าไตรกลีเซอไรด์

1. ลดกินเนื้อสัตว์ ที่ย่อยยาก

 

 

2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม

 

 

3. อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

4. เน้นกินโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่าย อย่างเช่น ไข่ขาว เนื้อปลาที่มีสีขาว เพื่อชะลอไตเสื่อม

 

 

 

 

3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา ?

Creatinine ในผลเลือด เป็นค่าที่ใช้ดูการทำงานของไตที่แม่นยำที่สุดในตอนนี้ มีชื่อเต็มว่า “ครีเอตินิน ฟอสเฟต” สาเหตุที่ค่านี้แม่นยำในการดูการทำงานของไต ก็เพราะครีเอตินิน เป็นของเสียที่มาจากการใช้กล้ามเนื้อในร่างกายเราเท่านั้น (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ) จึงไม่ถูกรบกวนจากอาหารที่กิน และ การทำงานของตับและที่สำคัญก็คือ ครีเอตินินถูกกำจัดออกทางไต เท่านั้น

 

แล้วทำไม เป็นโรคไตแล้วค่านี้ถึงสูง ?

เปรียบเทียบง่าย ๆ นะคะถ้าเป็นคนปกติ ไตไม่เสื่อม พอครีเอตินินถูกผลิตออกมา 100% ก็จะถูกไตกำจัดออกไป 100% เลย ส่วนคนที่ไตเสื่อม ถึงร่างกายจะผลิตออกมาเท่ากัน 100% แต่จะถูกกำจัดออกได้ไม่หมด พอออกไม่หมด ส่วนที่เหลือ ก็เลยไปสะสมอยู่ในเลือดมากขึ้น พอคุณหมอสั่งเจาะเลือดตรวจ คนที่ไตเสื่อมจึงมี “ค่านี้สูงผิดปกติ”

 

เกณฑ์ปกติ


ผู้ชาย : 0.6-1.2 mg/dL

ผู้หญิง : 0.5-1.1 mg/dL

 

*ค่านี้ต้องเอาไปเข้าสูตรเพื่อคำนวณต่อ ให้กลายเป็นค่า GFR หรือ eGFR เพื่อดูว่าเป็นโรคไตระยะไหน นั่นเองค่ะ*

 

ถ้าค่า ครีเอตินิน สูง GFR ก็จะลดลงตามไปด้วย (พูดง่าย ๆ คือ ไตเสื่อมลง นั่นเอง) แปลว่า ผู้ป่วยโรคไตที่มีค่านี้ เกินจากเกณฑ์ปกติไปมากก็จะต้องฟอกไต

ถ้าอยากลดค่า ครีเอตินิน เพื่อชะลอไดเสื่อม วิธีนึง ก็คือ…ให้เลี่ยงการทานโปรตีนที่มาจากเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว หรือ หมูเนื้อแดง

 

 

ควรทานเนื้อสีขาว ๆ อย่าง เนื้อปลา ไก่ กุ้ง และ ไข่แทน เพราะ เนื้อที่มีสีแดงเหล่านี้ ก็เป็นแหล่งของครีเอตินินเช่นกัน

 

 

 

4.ค่า โคเลสเตอรอล บอกอะไรเรา ?

โคเลสเตอรอล เป็นสารคล้ายกับไขมัน ที่ปกติ 70% ร่างกายเราสร้างขึ้นมาได้เอง และ 30% ได้รับมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป ถึงแม้เวลาเจาะเลือด โคเลสเตอรอลจะจัดอยู่ในหมวดไขมัน (Lipid Profile) แต่เพราะโคเลสเตอรอล ไม่ได้ให้พลังงานก็เลยไม่นับว่าเป็นไขมัน ประโยชน์ของโคเลสเตอรอล เช่น..

> ช่วยในการดูดซึมวิตามิน A, D, E, K

> ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์วิตามิน D ขึ้นมาใช้

> ใช้ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ หลายตัว โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ

> เป็นสารสำคัญในระบบประสาทและสมอง

 

โดยค่าที่อยู่ในเกณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ คือน้อยกว่า 200 mg./dL.

 

 

โคเลสเตอรอลที่ต่ำเกินไป อาจแปลได้ว่า…มีการขาดวิตามิน A D E K , ขาดสารอาหาร, ฮอร์โมนผิดปกติ , ความจำไม่ดี หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ส่วนถ้าสูงเกินไป ก็อาจทำให้เส้นเลือดอุดตันได้ ซึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคไต ที่ฟอกไตต้องระวังอย่างยิ่ง เพราะเราต้องดูแลเส้นเลือดให้ดี รวมถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

โดยปกติแล้ว ใครที่เป็นโรคไต ค่านี้จะมีแนวโน้มค่อนไปทางสูง เพราะ…พอไตเสื่อม จึงทำให้เกิดความผิดปกติ ของ “Lipoprotein” และต่อมอะดรีนัล ทำให้ร่างกายผลิตโคเลสเตอรอลออกมาใช้มากเกินไป

ดังนั้น ต่อให้เรากินอาหารที่ไม่มีโคเลสเตอรอลเลยสักนิด ร่างกายก็ยังผลิตออกมาใช้ อีกประมาณ 70% อยู่ดี คุณหมอถึงต้องจ่ายยาลดไขมันมาให้เรากินนั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าอยากให้ค่านี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แนะนำให้ทานยาลดไขมันอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ

 

 

เทคนิคลดโคเลสเตอรอล จากการกิน

 

1. เน้นกินอาหารที่มาจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ผัก ผลไม้

 

 

2. ลดกินเครื่องใน และเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น มันหมู หมูสามชั้น ขาหมูติดมัน หนังเป็ดพะโล้

 

 

3. เลี่ยงการกินไขมันทรานส์ ที่มักเป็นส่วนผสม ในขนมคุณภาพต่ำ และพวกน้ำมันทอดซ้ำ

 

 

 

5.ค่า Hct บอกอะไรเรา ?


Hct เป็นตัวย่อของ Hematocrit (อ่านว่า ฮีมาโตคริต) เป็นค่าที่บ่งบอกว่าตอนนี้เรามีภาวะซีดอยู่หรือเปล่า หรือเรียกว่า เป็นค่าความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดง ที่อยู่ในน้ำเลือดเรา ซึ่งค่านี้ จะได้มาจากการแยกเม็ดเลือดแดง ออกจากน้ำเลือด ด้วยการปั่น แล้วดูปริมาณเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในน้ำเลือด โดยค่าที่ได้จะออกมาเป็น % ค่ะ

 

ค่าที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผู้ชาย : 42-52%

ผู้หญิง : 37-47%

 

ถ้าต่ำกว่าเกณฑ์ ก็แปลว่า ซีด นั่นเอง …แล้วทำไม เป็นโรคไตถึงซีดบ่อย ?
เพราะ ไตของเรา ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน erythropoietin (อ่านว่า อีรีโทรโพอิติน) มีชื่อเล่นว่า EPO (อีโป้) ให้ไปกระตุ้นไขกระดูก เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงออกมา พอไตเสื่อม ฮอร์โมนนี้จึงมีน้อยลงไขกระดูกก็เลย สร้างเม็ดเลือดแดงน้อยตาม ทำให้ Hct ต่ำลง

 

แล้วถ้าซีดต้องทำยังไง ?

ปกติคุณหมอ มักจะให้เรากินยาหรือวิตามินบำรุงมาทาน เช่น โฟลิค หรือ ธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง แต่ใครที่ไตเสื่อมมาก คุณหมอก็จะสั่งฉีด ฮอร์โมน EPO แทน ใครที่ซีดหนัก ๆ อาจจะเป็นการให้เลือดแทน

ส่วนจะเป็นวิธีไหน ก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน ซึ่งคุณหมอจะเป็นคนบอกเราเอง เพราะ ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ จะเป็นอันตรายได้ อย่างเช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ติดเชื้อง่าย แผลหายช้า หมดสติ เป็นต้น เราก็ควรทำตามที่คุณหมอบอก เพื่อจะได้ไม่มีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรงนะคะ

 

 

 

6.ค่าพาราไทรอยด์ (PTH) บอกอะไรเรา ?

พาราไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ควบคุม และดูแลกระดูกทุกชิ้นในร่างกายเรา (หรือเรียกว่าเป็นตัวบงการแคลเซียม) โดยต่อมที่ปล่อยเจ้าฮอร์โมนนี้ออกมา มีชื่อว่า ต่อมพาราไทรอยด์ ซึ่งอยู่บริเวณกลางลำคอ และมีทั้งหมด 4 ต่อมด้วยกัน หากต่อมใดต่อหนึ่งถูกตัดออก ก็จะยังสามารถทำงานได้อย่างปกติแต่ต่อมที่เหลือก็จะทำงานหนักขึ้นหน่อย

 

ค่านี้มักจะสูงกันในผู้ป่วยฟอกไต (ทั้งที่ฟอกทางหน้าท้องและฟอกด้วยเครื่อง) ที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงนาน ๆ  แล้วทำไมเป็นผู้ป่วยฟอกไต ถึงมีค่า PTH สูงกว่าคนปกติ ?

 

พอไตเสื่อม เลยทำให้ร่างกาย ไม่สามารถดูดแคลเซียมกลับเข้ามาใช้ได้ เพราะแคลเซียมที่เรากินเข้าไป จะถูกขับทิ้งทางปัสสาวะไปหมด จึงทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำลง ฮอร์โมน PTH เลยถูกปล่อยออกมา เพื่อสลายกระดูก แล้วเอาแคลเซียมจากกระดูกมาใช้งานแทน และนี่ล่ะค่ะ ที่เป็นเหตุให้เรากระดูกพรุนได้ (กระดูกจะบางและหักง่าย)

หรืออีกสาเหตุนึง คือ ภาวะขาดวิตามินดี เนื่องจากไตเป็นตัวผลิตวิตามินดี พอไตเสื่อม ร่างกายจึงผลิตวิตามินดีออกมาใช้เองได้น้อยวิตามินดีในเลือดจึงต่ำ ซึ่งในบางคนที่ค่าต่ำมาก คุณหมอก็จะสั่งวิตามินดีมาให้ทานด้วยนั่นเอง

 

โดยเกณฑ์ปกติค่านี้ จะอยู่ที่ 10 – 65 pg/dL

สำหรับคนที่ไตเสื่อม

ระยะ 3 ค่าจะอยู่ที่ 35-70

ระยะ 4 ค่าจะอยู่ที่ 70-110

ระยะ 5 ค่าจะอยู่ที่ 150-300

 

แต่ถ้าค่า PTH ของใครน้อย ก็อาจแปลได้ว่า เคยผ่าต่อมพาราไทรอยด์มาก่อน , มีการทานวิตามินดีที่มากเกินไปหรืออาจมีปัญหาเกี่ยวกับไขกระดูก

 

 

วิธีลดค่าพาราไทรอยด์

> ควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือด

เพราะถ้าฟอสฟอรัสสูง ค่า PTH ก็จะสูงตามโดยถ้าค่า PTH ขึ้นถึงหลักพัน ก็อาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมนี้ออกไปเพื่อลด PTH ให้ต่ำลง ลดการสลายกระดูกออกมาใช้งานมากเกินไป

**สังเกตได้จากผิวที่คล้ำลงเรื่อย ๆ และมีอาการคันยิบ ๆ

 

> ทานวิตามินดี ตามที่คุณหมอบอกอย่างสม่ำเสมอ

 

** สรุปความสัมพันธ์อีกครั้ง ให้จำกันง่าย ๆนะคะ

ถ้า PTH สูง => ฟอสฟอรัสสูง , แคลเซียมต่ำ , วิตามินดีต่ำ

ถ้า PTH ต่ำ => ฟอสฟอรัสต่ำ , แคลเซียมสูง , วิตามินดีสูง

 

 

 

6.ค่าพาราไทรอยด์ (PTH) บอกอะไรเรา ?

พาราไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ควบคุม และดูแลกระดูกทุกชิ้นในร่างกายเรา (หรือเรียกว่าเป็นตัวบงการแคลเซียม) โดยต่อมที่ปล่อยเจ้าฮอร์โมนนี้ออกมา มีชื่อว่า ต่อมพาราไทรอยด์ ซึ่งอยู่บริเวณกลางลำคอ และมีทั้งหมด 4 ต่อมด้วยกัน หากต่อมใดต่อหนึ่งถูกตัดออก ก็จะยังสามารถทำงานได้อย่างปกติแต่ต่อมที่เหลือก็จะทำงานหนักขึ้นหน่อย

 

ค่านี้มักจะสูงกันในผู้ป่วยฟอกไต (ทั้งที่ฟอกทางหน้าท้องและฟอกด้วยเครื่อง) ที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงนาน ๆ   แล้วทำไมเป็นผู้ป่วยฟอกไต ถึงมีค่า PTH สูงกว่าคนปกติ ?

 

พอไตเสื่อม เลยทำให้ร่างกาย ไม่สามารถดูดแคลเซียมกลับเข้ามาใช้ได้ เพราะแคลเซียมที่เรากินเข้าไป จะถูกขับทิ้งทางปัสสาวะไปหมด จึงทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำลง ฮอร์โมน PTH เลยถูกปล่อยออกมา เพื่อสลายกระดูก แล้วเอาแคลเซียมจากกระดูกมาใช้งานแทน และนี่ล่ะค่ะ ที่เป็นเหตุให้เรากระดูกพรุนได้ (กระดูกจะบางและหักง่าย)

หรืออีกสาเหตุนึง คือ ภาวะขาดวิตามินดี เนื่องจากไตเป็นตัวผลิตวิตามินดี พอไตเสื่อม ร่างกายจึงผลิตวิตามินดีออกมาใช้เองได้น้อยวิตามินดีในเลือดจึงต่ำ ซึ่งในบางคนที่ค่าต่ำมาก คุณหมอก็จะสั่งวิตามินดีมาให้ทานด้วยนั่นเอง

 

โดยเกณฑ์ปกติค่านี้ จะอยู่ที่ 10 – 65 pg/dL

 

สำหรับคนที่ไตเสื่อม

ระยะ 3 ค่าจะอยู่ที่ 35-70

ระยะ 4 ค่าจะอยู่ที่ 70-110

ระยะ 5 ค่าจะอยู่ที่ 150-300

 

แต่ถ้าค่า PTH ของใครน้อย ก็อาจแปลได้ว่า เคยผ่าต่อมพาราไทรอยด์มาก่อน , มีการทานวิตามินดีที่มากเกินไปหรืออาจมีปัญหาเกี่ยวกับไขกระดูก

 

 

วิธีลดค่าพาราไทรอยด์

> ควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือด

เพราะถ้าฟอสฟอรัสสูง ค่า PTH ก็จะสูงตามโดยถ้าค่า PTH ขึ้นถึงหลักพัน ก็อาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมนี้ออกไปเพื่อลด PTH ให้ต่ำลง ลดการสลายกระดูกออกมาใช้งานมากเกินไป

**สังเกตได้จากผิวที่คล้ำลงเรื่อย ๆ และมีอาการคันยิบ ๆ

> ทานวิตามินดี ตามที่คุณหมอบอกอย่างสม่ำเสมอ

 

** สรุปความสัมพันธ์อีกครั้ง ให้จำกันง่าย ๆนะคะ


ถ้า PTH สูง => ฟอสฟอรัสสูง , แคลเซียมต่ำ , วิตามินดีต่ำ

ถ้า PTH ต่ำ => ฟอสฟอรัสต่ำ , แคลเซียมสูง , วิตามินดีสูง

 

 

สรุป

เป็นยังไงบ้างคะ อายคิดว่า ตอนนี้เพื่อน ๆ คงเข้าใจที่มาที่ไปของค่าผลเลือดต่าง ๆ ที่แสดงในใบผลเลือดกันแล้วใช่ไหมคะ ทีนี้เวลาจะคุยกับคุณหมอ หรือสงสัยว่า เอ.. ทำไมเราต้องคุมอาหารบางอย่างเพิ่มขึ้น-ลดลง หรือ ทำไมต้องกินยาตัวนั้นตัวนี้ มันเพื่ออะไรกัน ตอนนี้คงหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะ

 

ถ้าเราเข้าใจได้แบบนี้ อายเชื่อว่ายังไงเราก็ใช้ชีวิตประจำวันได้ราบรื่นขึ้นแน่นอน แถมเราจะดูแลตัวเอง ควบคุมตัวเองได้โดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดและรู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำบางอย่างโดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย ลองเอาข้อมูลในบทความนี้ ไปเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ในผล

 

เลือดของตัวเองกันดูนะคะ เพราะแม้แต่ละคนจะมีปัญหาที่แตกต่างกัน แต่อายเชื่อว่าเรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ การเป็นคนป่วยที่แข็งแรง และใช้ชีวิตให้มีความสุขในแบบที่เราเป็น อยู่กับคนที่เรารักและรักเราไปได้นาน ๆ จริงไหมล่ะค่ะ 

 

อ่านจบแล้วอย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะค้าา

 

ข้อมูลอ้างอิง :

หนังสือ คู่มือ แปลผลตรวจเลือด เล่ม 1
หนังสือ คู่มือ แปลผลตรวจเลือด เล่ม 2

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash

ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kidneymeal