ผู้ป่วยโรคไต ออกกำลังกายได้หรือไม่ แล้วจะกินอะไรไม่ให้ไตพัง

ผู้ป่วยโรคไต ออกกำลังกายได้หรือไม่ แล้วจะกินอะไรไม่ให้ไตพัง

อาหารโรคไต

สำหรับผู้ป่วยไตที่ต้องการออกกําลังกาย

อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยไตที่ต้องการออกกําลังกาย ก็สามารถทำได้เหมือนกันนะ วันนี้ คุณเอกหทัย แซ่เตีย นักกําหนดอาหาร หัวหน้านักกำหนดอาหารด้านโภชนาการ สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มีคำแนะนำมาบอก

“The National Kidney Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าว ถึงประโยชน์ของการออกกําลังกายในผู้ป่วยว่า ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ควบคุมความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลร้ายในเลือด และช่วยให้หลับสบาย แต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวัง”

คุณเอกหทัย เล่าถึงผู้ป่วยหลายรายที่เมื่อพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไต ก็ปรับเปลี่ยนอาหารและหันมาออกกําลังกายอย่างหักโหม เพราะเข้าใจผิด คิดว่าการออกกําลังกายอย่างหนักจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่แท้จริง ผลกลับตรงข้ามคือ อาการของโรคไตยิ่งแย่ลง

“ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆได้ เพราะจะทําให้กล้ามเนื้อสลายตัวเพิ่มขึ้น ระดับของเสียที่มีชื่อว่า ครีเอตินีน (Creatinine) ในเลือด ยิ่งเพิ่มขึ้น ไตจะยิ่งทํางานหนัก”

“ไม่เพียงกล้ามเนื้อสลายจนร่างกายอ่อนแอ ที่ร้ายกว่าคือ ร่างกาย ผู้ป่วยจะได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ เพราะส่วนหนึ่งถูกเผาผลาญ ไปขณะออกกําลังกายอย่างหนัก ผู้ป่วยจะขาดทั้งอาหารซ่อมแซมร่างกาย และมีของเสียในเลือดเพิ่มมากขึ้น เหมือนผู้ป่วยไม่ได้ดูแลสุขภาพและ ควบคุมอาหารเลย”

 

กินถนอมไต

สําหรับเรื่องอาหาร คุณเอกหทัยแนะนําให้กินเหมือนผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังทั่วไป แต่อาจต้องปรึกษานักกำหนดอาหารถึงวิธีการกิน เพื่อเพิ่มพลังงานในอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated Fatty Acids) หรือเพิ่มปริมาณอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง โปรตีนต่ำ คุณเอกหทัยอธิบายเสริมว่า

“ไม่มีข้อห้ามเรื่องอาหารเป็นพิเศษ มีแต่ห้ามออกกําลังกายหรือเล่น กีฬาหนัก เพราะเป็นห่วงเรื่องระดับครีเอตินีนในเลือด

“ที่โรงพยาบาลมีผู้ป่วย 4 รายที่เล่นกีฬาหนักจนร่างกายอ่อนแอ ระดับ ของเสียในเลือดจึงเพิ่มขึ้น เราเพิ่มพลังงานในอาหารก็แล้ว ปรับทุกอย่าง ก็แล้ว สุดท้ายทั้งคุณหมอและนักกําหนดอาหารก็มีความเห็นตรงกัน เลือกให้คนไข้ลดการออกกําลังกายลง ผลที่ได้ดีขึ้นทันตา”

 

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไต

คุณเอกหทัยสรุปวิธีการออกกําลังกายของผู้ป่วยโรคไตว่า ผู้ป่วยโรคไต สามารถออกกําลังกายรูปแบบใดก็ได้ แต่ไม่ควรหักโหมหรือออกกําลังกาย หนักจนเกินไป ควรควบคุมให้อยู่ในระดับปานกลาง คือ มีความหนัก ในระดับที่สามารถพูดคุยเป็นประโยคได้ขณะออกกําลังกาย และไม่มีอาการ หอบเหนื่อย

1. การออกกําลังกายแบบปานกลาง เช่น เดิน เต้นแอโรบิก ประมาณ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง หรือวันเว้นวัน โดยใน 1 วันแบ่งทํา ครั้งละ 10 นาที พบว่า สามารถช่วยให้การไหลเวียนเลือดที่ไตดีขึ้นเช่นกัน เมื่อเลือดไหลเข้าตัวกรองดี การขับของเสียจากโปรตีนก็ดีขึ้นด้วย ของเสีย ในเลือดจะลดลงเป็น 2 เท่า

 

 

รูปภาพจาก pixels

 

2. ดังนั้นจึงอยากเน้นว่าในผู้ป่วยโรคไตที่ต้องการ ออกกําลังกาย ควรออกกําลังกายด้วยความหนักปานกลาง และกินอาหาร ตามปกติของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คือ ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ลดเนื้อ

 

3. ส่วนเรื่องการดื่มน้ำผู้ป่วยไม่มีอาการบวมก็สามารถดื่มน้ำเพิ่มได้ 1–2 ลิตร แต่ถ้าเสียเหงื่อในปริมาณมาก อาจดื่มน้ำเพิ่มได้ถึง3ลิตร

 

รูปภาพจาก pixels

 

4. ที่สําคัญคือ ไม่แนะนําให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เพราะมีปริมาณ โซเดียมสูง น้ำผสมน้ำผึ้งก็ไม่แนะนําเช่นกัน เพราะมีกรดยูริกสูง ยิ่งเร่ง ให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ถ้าต้องการเพิ่มความสดชื่น ให้ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำหวานแทน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate

แหล่งที่มา ชีวจิต ฉบับที่ 2 May 2018