เบาหวานเป็นได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยยิ่งเป็นง่าย!

เบาหวานเป็นได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยยิ่งเป็นง่าย!

ปัจจุบันอัตราการเป็นโรคเบาหวานของคนไทยเพิ่มขึ้น

โดยพบมากในผู้สูงอายุสำหรับ แต่ก็อย่าลืมว่าโรคเบาหวานพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เด็กและผู้ใหญ่ที่รูปร่างอ้วนจะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูงเช่นกัน ดังนั้น จึงมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้เบาหวานเกิดจาก ความผิดปกติของตับอ่อนที่สร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ไม่เพียงพอและออกฤทธิ์ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ไม่ดี มีผลให้กลูโคสในเลือดสูงจนล้นออกมาในปัสสาวะ

วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับเจ้าโรคชื่อหวานๆ แต่ไม่หวานสมชื่อ อย่าง “เบาหวาน” ไปพร้อมๆ กันค่ะ

 

ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นภายหลังมื้ออาหาร จะไปกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดและนำน้ำตาลไปใช้ เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงโดยจะเก็บสะสมในรูปไขมัน ( ไตรกลีเซอไรด์ ) ที่เนื้อเยื่อไขมันตามใต้ผิวหนังและหน้าท้อง ขณะอดอาหารร่างกายสามารถสร้างน้ำตาลเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คนปกติมีระดับน้ำตาล ( กลูโคส ) ในเลือดหลังอดอาหารนานกว่า 8 ชั่วโมง มีค่า 60 – 110 มก/ดล หรือภายหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงจะไม่เกิน 140 มก/ดล

 

มีเกณฑ์อย่างไรในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานสามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด โดยมีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคดังนี้

– ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มก/ดล

– ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจากการตรวจเวลาใดก็ได้มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 200 มก/ดล ร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป

 

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักเกิดในเด็กจนถึงวัยรุ่น มีรูปผอมสาเหตุเกิดจากภาวะคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบและมีการทำลายเซลล์ตับอ่อนจนหมด ทำให้สร้างอินซูลินไม่ได้ จึงต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน

2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่พบในเพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีรูปร่างอ้วนหรือปกติ และมีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน มีสาเหตุจากร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

รูปภาพจาก pixels

 

3. โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม การได้รับยาบางชนิด โรคของตับอ่อน เป็นต้น

4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ไปต้านฤทธิ์ของอินซูลิน ภายหลังคลอดส่วนใหญ่โรคเบาหวานจะหายไป แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานเมื่ออายุมากขึ้น

 

สาเหตุของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

สาเหตุโรคเบาหวานที่แท้จริงไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยได้แก่

1. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น

2. ความอ้วน ขาดการออกกำลังกายและ ภาวะเครียดทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินไม่ดี

3. การติดเชื้อไวรัส ทำให้ตับอ่อนถูกทำลายจากร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อเซลล์ของตับอ่อน

4. อายุมากขึ้น ตับอ่อนมีการสร้างอินซูลินลดลง

5. โรคของตับอ่อน เช่น มะเร็งของตับอ่อน การผ่าตัดตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุรา เป็นต้น

6. ภาวะการณ์ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายครั้ง
จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

7. ยาบางชนิด ถ้าใช้ไปนานๆ จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน เช่น สเตียรอยด์ เป็นต้น

 

อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

ผู้ทีมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย อาจจะยังไม่มีอาการ ส่วนใหญ่อาการของโรคเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะแทรกซ้อนจากการควบคุมโรคไม่ได้ผล อาการที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่

1. ปัสสาวะบ่อยและจำนวนมากเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนล้นออกทางปัสสาวะ และดึงน้ำออกมาด้วย

2. หิวน้ำบ่อยและรับประทานอาหารได้มาก

3. หิวบ่อยและรับประทานอาหารได้มาก

 

รูปภาพจาก pixels

 

4. น้ำหนักลดหรือผอมลงและอ่อนเพลีย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดเป็นพลังงาน จึงสลายเนื้อเยื่อของ
ร่างกายมาใช้ทาน

5. คันตามตัวหรืออวัยวะเพศ

6. ตามัว จากน้ำตาลในเรื่องเลือดสูงไปคั่งในตา ทำให้ตาพร่ามัวได้

7. ชาปลายมือและปลายเท้า จากการเสื่อมของเส้นประสาท

8. ซึมลงหรือไม่รู้ตัว จากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือผู้ป่วยที่ขาดการรักษาต่อเนื่อง

 

อาการแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)

เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจน บดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)

พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubuleจึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปีนับจากแรกเริ่มมีอาการ
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)

หากหลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด

 

การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน

1.ดูแลสุขภาพตนเองให้ดีโดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร

2.ออกกำลังกายอยู่เสมอ ควบคุมปริมาณอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมัน

3.ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

4.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่หรือสารเสพติด

 

รูปภาพจาก pixels

 

5.ถ้าหากสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวานควรรีบพบแพทย์ทันที

 

การควบคุมปริมาณน้ำตาลเพื่อรักษาโรคเบาหวาน

1.การรักษาด้วยการฉีดหรือกินฮอร์โมนอินซูลิน

การรักษาด้วยการฉีดหรือกินฮอร์โมนอินซูลินเพื่อควบคุมอาการของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมให้ไม่เกิดเป็นอันตรายกับตัวผู้ป่วยได้ ซึ่งรักษาด้วยการผู้ป่วยรับประทานหรือทำการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดทดแทนฮอร์โมนอินซูลินตามธรรมชาติ เพื่อที่ร่างกายจะได้ทำการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้ ซึ่งการรับประทานหรือการฉีดฮอร์โมนอินซูลินนี้ต้องได้รับการควบคุมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้เอง

นอกจากนั้นแล้วผู้ป่วยยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย การรักษาด้วยวิธีนี้มักจะใช้ทำการรักษากับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอิซูลินตามธรรมชาติได้เอง หรือจะใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักมากและต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ร่างกายสามารถปรับสมดุลได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งทำการรักษาด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไป เมื่อร่างกายมีการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในระดับที่ปกติแล้ว แพทย์จะทำการหยุดการให้ฮอร์โมนอินซูลินและใช้การรักษาวิธีอื่นแทน

 

2.การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาเป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ยาที่ช่วยรักษาระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่สมดุล เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ถ้ามีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูงอยู่ตลอดเวลา เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น โดยตัวยาจะมีหน้าที่ในการออกฤทธิ์อยู่ 2 ลักษณะ คือ

2.1 ตัวยาจะทำหน้าที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินให้สามารถทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น จึงสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้

2.2 ตัวยาจะทำหน้าที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้มีการสร้างฮอร์โมนอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อร่างกายมีปริมาณฮอร์โมนอินซูลินที่มากขึ้น ก็จะสามารถทำการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดได้มากขึ้นตามปริมาณของฮอร์โมนอินซูลินนั่นเอง
ซึ่งปริมาณยาหรือชนิดของยาที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้นั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยคำนึงถึงตัวผู้ป่วยเป็นหลัก

 

3.การรักษาด้วยออกกำลังกาย

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาเสมอไปเพราะโรคเบาหวานสามารถที่จะรักษาได้ด้วยตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการออกกำลังกาย นับเป็นวิธีที่ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เพราะการออกกำลังกายจะเป็นลดปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในเลือดให้น้อยลงจนอยู่ในระดับที่ปกติ โดยร่างกายจะทำการดึงน้ำตาลเข้าไปเป็นพลังงานเพื่อใช้ในการออกกำลัง นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะบริเวณเส้นประสาทส่วนปลายจึงช่วยลดอาการปลายเส้นประสาทชา แต่ว่าการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก เช่น การวิ่งเหยาะ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือการทำกิจกรรมภายในบ้าน เป็นต้น

การรักษาโรคเบาหวานจะต้องอาศัยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาซึ่งทั้งนี้ต้องการกำลังใจของผู้สูงอายุ และความร่วมมือจากญาติ พี่น้องหรือผู้ดูแล การใช้ยารักษาจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและการออกกำลังกาย การใช้ยาจึงมีความสำคัญมากต่อชีวิตผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันซึ่งมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากในอดีต

โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาที่เหมาะสม คือออกฤทธิ์ไม่แรงและหมดฤทธิ์เร็ว เริ่มจากขนาดยาต่ำๆ ก่อน มีวิธีการใช้ยาที่ง่ายและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ใช้ยาจะต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายร่วมด้วยเสมอ ผู้ที่จะต้องใช้ยาตลอดชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และอาการของโรคเบาหวานตามเป้าหมายที่กำหนด ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรผู้ป่วยสูงอายุจึงจะอยู่กับโรคเบาหวานและการใช้ยาอย่างมีความสุข

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  goodlifeupdate

ข้อมูลประกอบจาก: กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี