3 เรื่องจริงหรือมั่ว กับ โรคกระดูก

3 เรื่องจริงหรือมั่ว กับ โรคกระดูก

เรื่องจริงหรือมั่ว กับ โรคกระดูก

โรคกระดูก โรคข้อต่างๆ เป็นอาการเจ็บป่วยใกล้ตัวที่หากไม่เกิดขึ้นกับเราก็อาจเกิดกับเด็กๆ หรือญาติผู้ใหญ่ที่บ้าน หากเราทำความรู้จัก ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าโรคนี้เอาไว้ ย่อมเป็นผลดี

และเมื่อเป็นโรคยอดฮิต ก็ต้องมีความเชื่อ หรือความเข้าใจในตัวโรคที่หลากหลาย บ้างถูก บ้างผิดมหันต์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนจริงอันไหนมั่ว วันนี้เรายกตัวอย่างความเข้าใจท็อปฮิตมาบอกให้ฟังค่ะ

 

กระดูกพรุนรักษาได้ด้วย การกินแคลเซียมเสริม

 

รูปภาพจาก pixels

 

มั่ว

กระดูกพรุนเป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยและการขาดฮอร์โมนเพศหญิง จึงไม่สามารถฟื้นมวลกระดูกให้สมบูรณ์ดังเดิมได้ แต่เราสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกลงได้ โดยแพทย์แนะนำให้กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ร่วมกับวิตามินดีและปรับระดับฮอร์โมนในกรณีที่เป็นหญิงวัยหมดประจำเดือน

ความจริง คือ

อาการกระดูกพรุนจะเริ่มจากรู้สึกปวดเมื่อยแขนและขา กล้ามเนื้อแขนและขาเล็กลง เป็นตะคริวง่ายขึ้น อาจมีอาการชาที่ปลายแขนและขา ปวดหลัง หลังงอ ความสูงลดลง ถ้าเป็นมากหลังจะงอจนเงยหน้าขึ้นไม่ได้ หากเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการที่เกี่ยวกับระดับฮอร์โมนผิดปกติร่วมด้วย เช่น ร้อนใบหน้าหรือตามตัว มีความรู้สึกผิดปกติที่ผิวหนังเหมือนมีมดไต่ อารมณ์ หงุดหงิด ฯลฯ

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

ทางที่ดีควรเน้นการป้องกันภาวะดังกล่าวก่อนอายุ 30 ปี โดยต้องกินอาหาร ที่มีแคลเซียมสูงและหมั่นออกกำลังกายตั้งแต่วัยเด็กเพื่อสร้างมวลกระดูกให้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบาง เช่น โรคเบาหวาน กินอาหารรสเค็มจัด กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อยหรือ ไม่เพียงพอ ดื่มสุราและกาแฟปริมาณมากๆเป็นประจำ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

 

รูปภาพจาก pixels

 

นอกจากนี้ต้องงดใช้ยาประเภทต่างๆดังต่อไปนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา นาน เพราะจะทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง ได้แก่ ยาลดกรดชนิดที่มี อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ยารักษาโรคต่อมไทรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็ง ยาที่เป็นสารกัมมันตภาพรังสี ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์(พบในยาชุด) ยาลดความเครียด และยาที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

 

รูปภาพจาก pixels

 

 

ผู้หญิงมีอาการนิ้วล็อก มากกว่าผู้ชาย

 

รูปภาพจาก pixels

 

มั่ว

ความจริง คือ

ปัจจุบันอาการนิ้วล็อกพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คาดว่าเกิดจากผู้หญิงใช้แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนต่อเนื่องมากกว่า โดยเริ่มจากอาการเจ็บฝ่ามือที่บริเวณโคนนิ้ว มีเสียงดังเวลาขยับมือ เมื่อใช้งานในท่าเดิมนานๆจะมีการอักเสบของเส้นเอ็น ทำให้กลายเป็นพังผืด ต่อมาเส้นเอ็นจะหนาขึ้น แต่ยังพอกำมือได้ หากเหยียดมือออก นิ้วจะค้าง พอถึงระยะสุดท้ายจะกำมือไม่ได้เลย

หากมีอาการนี้ต้องรีบพักการใช้งานนิ้วเพื่อสังเกตอาการ โดยงดใช้นิ้วมือทำงานหนัก เช่น ทำสวน เย็บผ้า จับกรรไกร ฯลฯ แพทย์จะให้ยาและใส่เฝือก หรืออุปกรณ์ประคองนิ้วมือ ใช้เวลารักษาประมาณ 3 – 9 สัปดาห์ หากมีอาการนิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งพร้อมกันหลายนิ้วจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

ปัจจุบันมีผู้มาพบแพทย์ด้วยอาการนิ้วล็อกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากสาเหตุเดียวกับอาการ ปวดต้นคอ นั่นคือการใช้แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น โดยนิ้วที่มักเป็นโรคนี้บ่อยที่สุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย และนิ้วชี้ ตามลำดับ

 

รูปภาพจาก pixels

 

 

ปล่อยให้เด็กเล็ก ๆ สะพายเป้หนัก ๆ ทำให้กระดูกสันหลังคดได้

 

รูปภาพจาก pixels

 

มั่ว

กระดูกสันหลังคด หมายถึง ภาวะที่กระดูกสันหลังคด (Cobb Angle) มากกว่า 10 องศา ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ส่วนการสะพายเป้ที่มีน้ำหนักมากนั้น จะทำให้เกิดความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาการบาดเจ็บ แต่ไม่มีผลกระทบต่อกระดูก

ความจริง คือ

ก่อนที่จะมาพบแพทย์เพื่อรักษาความผิดปกติดังกล่าว ส่วนใหญ่ผู้ปกครอง ครู หรือตัวเด็กเองจะสังเกตเห็นว่า เด็กมีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง โดยสังเกตจากระดับ หัวไหล่สองข้างไม่เท่ากัน หรือในท่าก้มตัวไปข้างหน้า จะสังเกตเห็นกระดูกหลังนูนขึ้นมาชัดเจน เป็นต้น มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ดังกล่าว ให้รีบพาเด็กมาพบแพทย์โดยเร็วที่ สุด หาก ปล่อยทิ้งไว้จนอายุเกิน 18 ปีก็จะไม่สามารถแก้ไขความ ผิดปกติได้ ทำให้เสียบุคลิกภาพ และในรายที่กระดูก คดมากๆจะส่งผลให้ขนาดของปอดไม่เท่ากัน ทำให้ การหายใจมีปัญหาได้ ส่วนการแก้ไขความผิดปกตินี้ สามารถทำได้โดยแพทย์จะให้สวมเสื้อเกราะ (Brace) หรือใส่เฝือก ถ้ากระดูกผิดรูปมาก จะใช้วิธีรักษา ด้วยการผ่าตัดต่อไป

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate

(สนับสนุนข้อมูล : คอลัมน์ ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 369)