กระดูกพรุนในผู้สูงวัย ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรละเลย เช็กก่อนสาย เตรียมรับมือก่อนวิกฤต

กระดูกพรุนในผู้สูงวัย ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรละเลย เช็กก่อนสาย เตรียมรับมือก่อนวิกฤต

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ และอาจเป็นอันตรายต่อคนที่คุณรัก วันนี้เรามีวิธีการตรวจเช็กและดูแลรักษาอย่างถูกวิธีมาฝาก โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ อาจเริ่มเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย เมื่อมวลและความหนาแน่นของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุน มีโอกาสเสี่ยงต่อกระดูกหักได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ข้อมือ สะโพก กระดูกเชิงกราน และ ต้นแขน

 

กระดูกพรุนได้อย่างไร

ร่างกายคนเราตามปกติจะมีการสร้างและการสลายกระดูก เพื่อการเจริญเติบโต การซ่อมแซมกระดูก และเป็นการรักษาสมดุลของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นการสร้างกระดูกจะน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง ที่หมดประจำเดือนจะมีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกบางลง หากเป็นมากจะส่งผลให้เกิด โรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งมักพบการหักที่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ในบางรายอาจทำให้เกิดหลังค่อมและความสูงลดลง

 

รูปภาพจาก pixels

 

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดคือ การเสริมสร้างมวลกระดูก ของเราให้แข็งแรงที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งสามารถทำได้โดยการรับประทานแคลเซียม และวิตามินดี อย่างเพียงพอและการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ แต่คุณจะทราบได้อย่างไรว่าแคลเซียมและวิตามินดีที่คุณได้รับอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะจากอาหาร ยา หรือ การรับแสงแดด เพียงพอหรือไม่ที่จะสร้างกระดูกให้แข็งแรง เพียงตรวจสุขภาพกระดูก โดย การตรวจเลือดจะสามารถให้คำตอบได้ และหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนได้ รวมไปถึงขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทาง ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้เครื่องวัดมวลกระดูก เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และหากมีปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขจะได้หาทางรักษาอย่างถูกวิธีด้วยเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการรักษา

 

 

เริ่มจากตรวจเช็กอย่างมั่นใจ

หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาที่ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี ด้วยประสบการณ์ของทีมแพทย์เฉพาะทาง สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อ ได้ในทุกปัญหา เช่น กระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม ข้อมือ ข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเล่นกีฬา รวมถึงส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องจากกระดูกและข้อ

 

รูปภาพจาก unsplash

 

ด้วยการวินิจฉัยอย่างถ้วนถี่ วางแผนการรักษาอย่างมีขั้นตอน ใช้เทคโนโลยีที่ ครอบคลุมเข้าถึงในการรักษา และเหมาะสมในแต่ละราย เช่น ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ( Magnetic Resonance Imaging ) การผ่าตัดส่องกล้อง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก หรือ กายภาพบำบัดพร้อมบริการให้คำปรึกษาด้านค่าใช้จ่าย เพื่อความสบายใจ อุ่นใจ ในทุกการรักษา สนใจโปรแกรมตรวจรักษา

 

เพิ่มมวลกระดูก ดูแลตัวเองควบคู่การรักษา สไตล์ชีวจิต

ตามสถิติกล่าวไว้ว่า โรคกระดูกพรุน และโรคเกี่ยวกับกระดูกทั้งหลายนั้น ผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าและเป็นมากกว่าผู้ชาย สรุปสั้น ๆ ก็คือ ผู้หญิงจะแก่เร็วกว่าผู้ชาย

 

ในด้านกายภาพ ธรรมชาติสร้างร่างกายผู้ชายให้แข็งแรงและอดทนกว่าผู้หญิง การเคลื่อนไหวและการทำงานในด้านต่อสู้กับธรรมชาติ ผู้ชายได้เปรียบมากกว่าผู้หญิง

ในเรื่องกระดูกพรุนและโรคเกี่ยวกับกระดูกอื่น ๆ นั้นผู้หญิงมีปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการบำรุงร่างกายที่จะต้องปฏิบัติให้เข้มงวดมากกว่าผู้ชาย เช่น ในด้านการเจริญเติบโตจากเด็กเป็นสาวและเป็นผู้ใหญ่ ผู้หญิงมีปัญหาต้องระวังมากในด้านอาหาร ด้านฮอร์โมน (ผู้ชายไม่ต้องมีประจำเดือนไม่ต้องอุ้มท้องเวลามีบุตร ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ทางร่างกาย เช่น มีนม สะโพกผาย เป็นต้น)

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยของสารอาหารและแร่ธาตุที่สำคัญต่อกระดูก ซึ่งร่างกายต้องการ และขาดไม่ได้นั้น คือแคลเซียม ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในร่างกาย แคลเซียมคือส่วนสำคัญของกระดูกและฟัน แคลเซียมยังเป็นตัวสำคัญที่ช่วยให้หัวใจเต้นได้ตามจังหวะที่ถูกต้อง แถมยังเป็นตัวกำกับเชื่อมโยงระหว่าง ระบบประสาทกับกล้ามเนื้อทุกส่วน แคลเซียมเป็นตัวสำคัญในการกำกับ และช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย เมื่อลดคอเลสเตอรอลได้ ก็เท่ากับลดโรคหัวใจได้ ในผู้ที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ควรตรวจดูว่าขาดแคลเซียมหรือไม่

 

 

แนะนำให้กินอาหารที่มีแคลเซียม กินให้พอสมควรและพอดี

 

1. กินปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน มีแคลเซียมเยอะ ปลาทะเล และอาหารทะเลก็มีแคลเซียมมากพอ

 

รูปภาพจาก pixels

 

2. ถั่วต่าง ๆ เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง ถั่วกินเล่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ หรือเมล็ดพืชกินเล่นอื่น ๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน

 

รูปภาพจาก pixels

 

3. ผักและพืชใบเขียวจัด รวมทั้ง หน่อ และฝัก เช่น สะตอ หน่อไม้ฝรั่ง กระถิน ผลไม้เขียว ๆ ฝรั่ง พุทรา ฯลฯ

 

รูปภาพจาก pixels

 

4. กินนมเนย ที่ไม่หวานจัด หรือ โยเกิร์ต

 

รูปภาพจาก pixels

 

 

ออกกำลังกายกลางแดด บำรุงกระดูก

 

การทํากิจกรรมกลางแจ้ง เพียงวันละประมาณ 30-45 นาที แสงแดดจะทําปฏิกิริยากับไขมันที่ผิวหนัง สร้างเป็นวิตามินดีให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้กระดูกแข็งแรง

 

รูปภาพจาก pixels

 

นอกจากนี้ การออกกำลังกายด้วยการฝึกโยคะ ซึ่งช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ฝึกสมาธิ และฝึกการกําหนดลมหายใจเข้า–ออก ถือเป็นวิธีออกกำลังกายที่ทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อต่างๆ จึงก่อก่อให้เกิดความรู้สึกดี รู้สึกสบาย ซึ่งเป็นผลดีต่อกระดูก

 

รูปภาพจาก pixels

 

สนับสนุนข้อมูลโดย

โรงพยาบาลธนบุรี

Hotline : 1645 กด 1 หรือ 02-487-2000

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Website : www.thonburihospital.com/2015_new

Facebook : http://www.facebook.com/thonburihospitalclub

IG : https://www.instragram.com/thonburi_hospital

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate