วิธีดูแลสุขภาพไต อย่างถูกต้อง ป้องกันโรค

วิธีดูแลสุขภาพไต อย่างถูกต้อง ป้องกันโรค

วิธีดูแลสุขภาพไต

ไม่ว่าจะมีสุขภาพแข็งแรงเพียงใด เมื่อพ้นวัยเลข 3

ไตจะทำงานลดลงเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นความเสื่อมตามธรรมชาติพร้อมๆ กับร่างกายจนสิ้นอายุขัย ยิ่งใครตามใจปาก กินแต่อาหารทำลายไต ก็จะเร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น จนไม่สามารถกรองของเสียและขับปัสสาวะได้ตามปกติ สุดท้ายไตจะเสื่อมจนเข้าสู่ภาวะไตวาย ต้องนอนข้างเครื่องฟอกไตและฝืนใจเข้มงวดกับอาหารทุกชนิดเพื่อรักษาชีวิต

ชีวจิต จะมาแนะนำวิธีกินให้ไตแก่ช้า โดยป้องกันผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่ให้ป่วยและช่วยผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะไตวาย พร้อมกระซิบ 6 สัญญาณเตือนโรคไตที่จะช่วยให้รู้เร็ว รู้ไว และรักษาได้ทันท่วงที

กินและออกกำลังถูกต้องป้องกันโรคไตอยากให้ไตมีสุขภาพแข็งแรงต้องรู้จักกิน ดื่ม และออกกำลังกายง่ายๆ ดังนี้

 

เพลาหวาน เบาเค็ม

เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่โรคไตเรื้อรัง สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยปรับเปลี่ยนความเคยชินเสียใหม่ เริ่มจากหลีกเลี่ยงหรือลดความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มรสหวานหรือน้ำอัดลม ลดปริมาณน้ำตาลและเครื่องปรุงรส เช่น ซีอิ๊วขาว น้ำปลา หรือซอส

ปรุงรสในอาหารอาจเริ่มจากลดลงทีละครึ่งช้อนชา ครั้งแรกที่ลดปริมาณน้ำตาลหรือเครื่องปรุงรสอาจรู้สึกว่ารสชาติไม่กลมกล่อมเท่าเดิม แต่หากทำต่อเนื่องสักระยะ ต่อมรับรสจะปรับตัวใหม่ สุดท้ายหากกลับไปกินอาหารหวานและเค็มเหมือนเดิม จะรู้สึกว่าเครื่องดื่มหรืออาหารเหล่านั้นรสชาติหวานและเค็มเกินไป ไม่อร่อยนอกจากนี้ ควรกินอาหารสดใหม่จากธรรมชาติหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ที่เติมเกลือและน้ำตาลปริมาณสูงกว่าปกติ เพื่อประโยชน์ในด้านรสชาติและยืดอายุการเก็บรักษา

 

ตั้งเป้าดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว

การดื่มน้ำน้อยเกินไปอาจส่งผลให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง เพิ่มโอกาสที่สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วหากใครรู้ตัวว่าดื่มน้ำไม่เพียงพอ

วิธีหนึ่งที่จะช่วยเตือนความจำให้ดื่มน้ำระหว่างวันเพิ่มขึ้นคือ วางกระติกน้ำไว้บนโต๊ะทำงาน อาจเลือกน้ำเปล่าหรือน้ำอาร์ซี เครื่องดื่มสุขภาพตามแบบฉบับชีวจิต แต่ไม่ควรเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานและน้ำตาลสูง เพราะอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพตามมานอกจากนี้

ควรเลือกกินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ หรือกินผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น แตงโม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้กับร่างกายอย่างไรก็ตาม ควรดื่มน้ำให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ร่วมด้วย เพราะปัสสาวะที่คั่งค้างทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังตามมา

ออกกำลังกายขับเกลือโซเดียม

วิธีหนึ่งที่จะช่วยขจัดความเค็มออกจากร่างกาย โดยที่ไตไม่ต้องทำงานหนักคือ การออกกำลังกาย

เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายสามารถขับเกลือโซเดียมส่วนเกินผ่านทางผิวหนัง พร้อมเหงื่อได้ฉะนั้นเพื่อถนอมไตไม่ให้ทำงานหนัก ควรออกกำลังกายเป็นประจำและต่อเนื่อง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วัน โดยเลือกกิจกรรมที่ชอบ เพื่อให้ได้เคลื่อนไหวร่างกายและเสียเหงื่อ เช่น เดิน วิ่ง โยคะ ปั่นจักรยาน

รูปภาพจาก pixels

 

กินยืดอายุผู้ป่วยไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ แบ่งออกตามประสิทธิภาพการทำงานที่เหลือของไต ระยะสุดท้ายคือระยะ 5 หรือเรียกว่า ระยะไตวายโดยการทำงานของไตเหลือน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยต้องเตรียมเข้ารับการล้างไต หรือผ่าตัดปลูกถ่ายไตก่อนที่จะป่วยถึงระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถยืดอายุไตได้ หากทำความเข้าใจว่า ไตไม่สามารถกำจัดของเสีย ขับน้ำและเกลือแร่ออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ และหันมาปรับเปลี่ยนอาหาร และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดอาหารถนอมไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีดังนี้

 

• โปรตีนคุณภาพ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำเป็นต้องจำกัดปริมาณโปรตีน เพราะหลังจากโปรตีนผ่านกระบวนการย่อยและเผาผลาญแล้ว จะเกิดของเสียที่รอขับออกทางไต ยิ่งกินโปรตีนมาก ไตจะยิ่งทำงานหนัก และเสื่อมเร็วแต่โปรตีนนับเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทั้งเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนและกล้ามเนื้อโปรตีนคุณภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังคือ โปรตีนที่มีส่วนประกอบของกรดแอมิโนจำเป็นครบถ้วน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลาโดยปริมาณที่เหมาะสมแตกต่างกันตามความเสื่อมของไต หากเป็น

โรคไตเรื้อรังระยะ 2 และ 3 ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 0.6 – 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมสามารถกินโปรตีนได้วันละ 30 – 40 กรัม (เนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุง 1 ขีด) หรือใน 1 มื้อสามารถกินเนื้อสัตว์สุก 2 ช้อนโต๊ะ ร่วมกับไข่ขาว 1 ฟองหากเป็นโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เพราะมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัส ซึ่งไตไม่สามารถขับฟอสฟอรัสส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งค้างภายในร่างกาย จนเกิดอาการคันตามตัวและเร่งให้กระดูกสลายเร็วขึ้น

 

• แป้งปลอดโปรตีนและไขมันดี

ต้องจำกัดปริมาณโปรตีน หากเลือกกินแป้งปลอดโปรตีนเช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู แป้งมัน แป้งข้าวโพด จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานจากอาหาร โดยไม่เพิ่มภาระให้ไต ส่วนไขมันยังคงเป็นสารอาหารจำเป็นที่ให้พลังงานแก่ร่างกายและช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค

รูปภาพจาก pixels

 

ควรเลือกใช้ไขมันดีประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา หลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู เนย เนยเทียม เนยขาว มาการีน รวมถึงไขมันที่แฝงตัวอยู่ในหนังและเนื้อสัตว์ติดมัน

 

รูปภาพจาก pixels

 

• ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ

ผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูงจะช่วยป้องกันปัญหาท้องผูกซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และจะไปเร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงควรกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น แต่หากป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 4 – 5 จะขับปัสสาวะได้น้อย เมื่อกินผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงจะทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ หากไม่ควบคุมอาหาร อาจมีผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว ฟักแม้ว บวบ มะระ มะเขือยาว มะละกอดิบ หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวกสามารถกินผักดิบได้มื้อละ 1 ถ้วยตวง ผักสุกมื้อละ 12- ถ้วยตวงสำหรับผลไม้ ส่วนใหญ่มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนกิน ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดปกติ ใน 1 วันสามารถกินผลไม้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

องุ่น 10 ผล สับปะรด 8 ชิ้นคำ ส้มเขียวหวาน 1 ผล ชมพู่ 2 ผล แตงโม 10 ชิ้นคำ ส้มโอ 3 กลีบ มังคุด 3 ผล เงาะ 4 ผล

 

• ดื่มน้ำแต่พอดี

ผู้ป่วยแต่ละรายดื่มน้ำได้มากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการขับน้ำของไต ผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ตวงปริมาณปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทราบว่าใน 1 วันร่างกายสามารถขับน้ำได้เท่าไร จากนั้นจึงคำนวณปริมาณน้ำที่ร่างกายขับออกทางปัสสาวะร่วมกับน้ำที่ขับออกจากร่างกายทางอื่น เช่น เหงื่อ ลมหายใจตัวอย่างเช่น ตวงปัสสาวะได้วันละประมาณ 1 ลิตร บวกกับน้ำที่ขับออกจากร่างกายทางระบบอื่น ๆ ประมาณวันละครึ่งลิตรรวมเป็น 1.5 ลิตร คือปริมาณน้ำที่สามารถดื่มได้ใน 1 วันทั้งนี้ต้องระวังอาหารที่มีน้ำมากร่วมด้วย เช่น ข้าวต้มโจ๊ก ซุป และแกงต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ขับปัสสาวะได้น้อย

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋องอาหารหมักดอง อาหารปรุงสำเร็จ ซอสปรุงรสต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง ทำให้กระหายน้ำ ทั้งนี้เกลือโซเดียมยังเพิ่มความดันโลหิตและเร่งให้ไตเสื่อมเร็วอีกด้วย

รูปภาพจาก pixels

ขอขอบคุณข้อมูลจาก   goodlifeupdate

แหล่งที่มา ชีวจิต ฉบับที่ 15 July 2019