รำกระบอง ขี่จักรยาน ป้องกันเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด

รำกระบอง ขี่จักรยาน ป้องกันเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด

รำกระบองป้องกันเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ที่ปากน้ำโพ

รำกระบองป้องกันเบาหวาน และขี่จักรยาน หลากหลายกิจกรรมการออกกำลังกายที่สามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ ดังประสบการณ์สุขภาพของคนเหล่านี้

 

สมัยสาวๆ คุณวาริน รุ้งเพชร (ปัจจุบันอายุ68 ปี) เผชิญโรคหืดอย่างทรมานนานเกือบสิบปี และจากผลข้างเคียงของยาและการไม่
ควบคุมอาหาร สองปีที่แล้วเธอพบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน มีระดับน้ําตาลในเลือดสูงถึง 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อรํากระบองเป็นประจําอยู่แล้ว คุณวารินจึงยิ่งใส่ใจและตั้งใจรํามากขึ้น

 

 

“ป้ารํากระบองมาได้ห้าปีแล้ว เพื่อนชวนไปฝึกกับชมรมรํากระบอง จังหวัดนครสวรรค์ ความที่ชมรมอยากให้ทุกคนนํารํากระบองได้ ป้าเลยต้องรําอย่างจริงจัง ไม่นานก็จําท่าได้

“ตั้งแต่เป็นเบาหวาน ทุกเย็นยังไปรํากระบองเหมือนเดิม เพราะเป็นห่วงสุขภาพมากขึ้น ชอบชุดท่าเตะมากที่สุด ได้ออกแรงเต็มที่และช่วยให้เหงื่อออกดี โดยจะเตะอย่างต่อเนื่องท่าละ 50 ครั้ง เมื่อครบ 1 ท่าจึงพักหายใจ 1 นาที แล้วค่อยเริ่มเตะท่าต่อไป

 

“ยิ่งออกแรงมากและตั้งใจเท่าไร จะยิ่งได้เหงื่อเยอะและเป็นประโยชน์มากเท่านั้น”

 

ผลจากการขยันรํากระบองช่วยให้ระดับน้ําตาลในเลือดของคุณวารินลดเหลือ 110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เธอบอกว่าจะมุ่งมั่นรํากระบอง
สถานีต่อไปเยือนมุกดาหาร แหล่งรวมกิจกรรมสู้เบาหวาน แม้โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 แต่โรงพยาบาลอําเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ก็ยังไม่ประสบความสําเร็จในการลดจํานวนผู้ป่วยและอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

 

ต่อมาระบบการคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งความทันสมัยแม่นยําของเครื่องมือและบุคลากรสาธารณสุข จึงพบผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตําบลละ 70-80 คน

 

เมื่อสองปีที่แล้ว สํานักงานสาธารณสุขอําเภอหว้านใหญ่ หรือสสอ. หว้านใหญ่ นําทีมโดยคุณวารัตติกาล โอมพนา เจ้าพนักงานสาธารณสุขชํานาญงาน เริ่มออกบริการตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ณ รพ.สต.หว้านใหญ่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน หรืออสม. พากันเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่ หากผลลัพธ์เรื่องการลดระดับน้ําตาลในเลือดก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

คุณวารัตติกาลเล่าว่า

 

“เราจึงคิดว่า น่าจะมีกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ป่วยมากขึ้น เลยนําไอเดียเรื่องการรักษาสุขภาพที่มีอยู่แล้วแต่เดิม เช่น การออกกําลังกาย การนวดบําบัด หัวเราะบําบัด ทําสมาธิ และร้องเพลง มาปรับใช้ เพื่อให้การบริการตรวจสุขภาพผู้ป่วยมีสีสันและให้ความรู้ในการควบคุมและลดระดับน้ําตาลในเลือดไปในตัว

 

“เกือบสองปีผ่านมาเห็นผลลัพธ์ว่า ผู้ป่วยควบคุมน้ําตาลได้ดีขึ้นสามารถลดระดับน้ําตาลในเลือดได้ถึง 33 เปอร์เซ็นต์”

 

แนวคิดนี้คือแรงบันดาลใจที่ทําให้ทีมงาน ชีวจิต นั่งรถตู้ไปดู กิจกรรมการออกกําลังกาย การนวดบําบัด หัวเราะบําบัด และการทําสมาธิ ณ อําเภอเล็กๆที่อยู่ติดริมแม่น้ําโขง

 

ขี่จักรยานลดเบาหวาน

 

 

เพราะแม่ป่วยเป็นเบาหวานนานถึง 20 ปี และต้องเสียชีวิตเพราะไตวายจากการกินยาควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่เคยขาด เมื่อคุณมยุรี จันทโคตร อายุ44 ปี ได้รับการตรวจวินิจฉัยพบว่า ระดับน้ําตาลในเลือดขึ้นสูงถึง 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เธอจึงรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะกลัวการกินยา

 

“จากเดิมที่กินไม่เลือก ก็ปรับและควบคุมอาหารตามหมอสั่ง นอกจากนี้ เมื่อคุณวารัตติกาลชวนมาออกกําลังกายก็ไม่รีรอเลย”

 

เริ่มจากเต้นแอโรบิกบริเวณหน้าสํานักงานสาธารณสุขอําเภอหว้านใหญ่หลังเลิกงานทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันละ1 ชั่วโมง ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์ตั้งแต่เวลาบ่ายสามโมงเป็นต้นไป คุณมยุรีชักชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ ทั้งที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอ้วน มาขี่จักรยานจากบริเวณหน้าที่ว่าการอําเภอหว้านใหญ่ กลุ่มผู้ป่วยรักสุขภาพเริ่มปั่นจักรยานไปตามถนนที่ทอดยาวเลียบลําน้ําโขงสายลมเย็นพัดโชย แสงแดดอ่อนอุ่น แมกไม้เขียวขจีและทุ่งนาอีกฟากหนึ่ง ล้วนมอบอากาศบริสุทธิ์ เพื่อทุกคนได้เติมออกซิเจนให้ร่างกายและบําบัดอาการป่วยนานา

 

เมื่อกลุ่มผู้ป่วยถึงบ้านสองคอน พวกเขาก็หยุดพักสักครู่ ก่อนพากันเลี้ยวรถจักรยานกลับมายังที่เดิม รวมระยะทาง 13 กิโลเมตร ระหว่าง 2-3 ชั่วโมงที่รวมกลุ่มกันอยู่นั้น เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพขจรขจาย ใครกินอะไรแล้วอาการป่วยแย่ลง ใครทําอะไรแล้วอาการป่วยดีขึ้น ต่างบอก บ่น แลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน เพื่อต่างนํากลับไปปรับใช้กับตนเอง

 

คุณมยุรีเล่าว่า “เริ่มเต้นแอโรบิกและขี่จักรยานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปีพ.ศ.2552 จากน้ําหนัก 60 กิโลกรัม เหลือเพียง 52 กิโลกรัม และน้ําตาลในเลือดก็ลดลงมาเหลือ 90-91 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์โดยที่ไม่ได้กินยาเลย” น้ําเสียงของเธอสะท้อนความภาคภูมิใจเต็มที่

 

อยากชวนทุกคนมา รำกระบองป้องกันเบาหวาน ขี่จักรยาน ป้องกันเบาหวานกัน

 

ที่มา: คอลัมน์เรื่องพิเศษ,เอื้อมพร และพรรณรวี

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate