กินอาหาร ยืดอายุ โรคไตเรื้อรัง

กินอาหาร ยืดอายุ โรคไตเรื้อรัง

อาหารโรคไตเรื้อรัง ช่วยยืดอายุผู้ป่วยไตเรื้อรัง

อาหารโรคไตเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยโรคไต สำคัญอย่างยิ่ง ถ้ากินไม่ถูกต้อง กินผิดหลักการรักษา แน่นอนว่าอาจทำให้อาการเเย่ลงได้ คุณธิษณา จรรยาชัยเลิศ (นักกําหนดอาหารวิชาชีพ) และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิต มีวิธีการกินช่วยยืดอายุผู้ป่วยไตเรื้อรังป้องกันโรคไต แนะนำไว้ดังนี้

 

ทำความรู้จักโรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ แบ่งออกตามประสิทธิภาพการทํางาน ที่เหลือของไต ระยะสุดท้ายคือระยะ 5 หรือเรียกว่า ระยะไตวาย โดยการทํางานของไตเหลือน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยต้องเตรียม เข้ารับการล้างไต หรือผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ก่อนที่จะป่วยถึงระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถยืดอายุ ไตได้ หากทําความเข้าใจว่า ไตไม่สามารถกําจัดของเสีย ขับน้ําและ เกลือแร่ออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ และหันมาปรับเปลี่ยนอาหาร และปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

• โปรตีนคุณภาพ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจําเป็นต้องจํากัดปริมาณโปรตีน เพราะหลังจาก โปรตีนผ่านกระบวนการย่อยและเผาผลาญแล้ว จะเกิดของเสียที่รอ ขับออกทางไต ยิ่งกินโปรตีนมาก ไตจะยิ่งทํางานหนักและเสื่อมเร็ว แต่โปรตีนนับเป็นสารอาหารสําคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทั้งเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนและกล้ามเนื้อ

โปรตีนคุณภาพสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังคือ โปรตีนที่มีส่วน ประกอบของกรดแอมิโนจําเป็นครบถ้วน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา โดยปริมาณที่เหมาะสมแตกต่างกันตามความเสื่อมของไต หากเป็น โรคไตเรื้อรังระยะ 2 และ 3 ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 0.6 – 0.8 กรัมต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม

 

 

ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมสามารถกินโปรตีนได้วันละ 30 – 40 กรัม (เนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุง 1 ขีด) หรือใน 1 มื้อสามารถกินเนื้อสัตว์ สุก 2 ช้อนโต๊ะ ร่วมกับไข่ขาว 1 ฟอง
หากเป็นโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วและผลิตภัณฑ์ จากถั่ว เพราะมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัส ซึ่งไตไม่สามารถขับ ฟอสฟอรัสส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งค้างภายใน ร่างกาย จนเกิดอาการคันตามตัวและเร่งให้กระดูกสลายเร็วขึ้น

 

 

 

แป้งปลอดโปรตีนและไขมันดี

ต้องจํากัดปริมาณโปรตีน หากเลือกกินแป้งปลอดโปรตีน เช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู แป้งมัน แป้งข้าวโพด จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานจากอาหารโดยไม่เพิ่มภาระให้ไต

 

 

ส่วนไขมันยังคงเป็นสารอาหารจําเป็นที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค

ควรเลือกใช้ไขมันดีประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ํามันถั่วเหลือง น้ำมันรําข้าว น้ํามันงา

 

 

หลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู เนย เนยเทียม เนยขาว มาการีน รวมถึงไขมัน ที่แฝงตัวอยู่ในหนังและเนื้อสัตว์ติดมัน

 

 

 

ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ

ผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูงจะช่วยป้องกันปัญหาท้องผูก ซึ่งอาจทําให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และจะไปเร่งให้ไตเสื่อม เร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงควรกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น แต่หากป่วยเป็นโรค ไตเรื้อรังระยะ 4 – 5 จะขับปัสสาวะได้น้อย เมื่อกินผักและผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูงจะทําให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น อย่างผิดปกติ หากไม่ควบคุมอาหาร อาจมีผลให้หัวใจเต้นผิด จังหวะ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ไดแก่ แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว ฟักแม้ว บวบ มะระ มะเขือยาว มะละกอดิบ หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวก สามารถกินผักดิบได้มื้อละ 1 ถ้วยตวง ผักสุกมื้อละ 1- 2 ถ้วยตวง

 

 

สําหรับผักผลไม้ส่วนใหญ่มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนกิน ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีระดับโพแทสเซียม ในเลือดปกติ ใน 1 วันสามารถกินผลไม้ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ องุ่น 10 ผล สับปะรด 8 ชิ้นคํา ส้มเขียวหวาน 1 ผล ชมพู่ 2 ผล แตงโม 10 ชิ้นคํา ส้มโอ 3 กลีบ มังคุด 3 ผล เงาะ 4 ผล

 

 

ดื่มน้ําแต่พอดี

 

 

ผู้ป่วยแต่ละรายดื่มน้ำได้มากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิ

ภาพในการขับน้ําของไต ผู้ป่วยอาจได้รับคําแนะนํา จากแพทย์ให้ตวงปริมาณปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทราบว่า ใน 1 วันร่างกายสามารถขับน้ําได้เท่าไร จากน้ันจึงคํานวณ ปริมาณน้ําที่ร่างกายขับออกทางปัสสาวะร่วมกับน้ําที่ขับออกจาก ร่างกายทางอื่น เช่น เหงื่อ ลมหายใจ

 

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรดื่มน้ำให้พอดีในแต่ละวัน และเหมาะสมกับร่างกายตนเอง

ตัวอย่างเช่น ตวงปัสสาวะ ได้วันละประมาณ 1 ลิตร บวกับน้ําท่ีขับออกจากร่างกายทางระบบอื่น ๆ ประมาณวันละครึ่งลิตร รวมเป็น 1.5 ลิตร คือปริมาณน้ำที่สามารถดื่มได้ใน 1 วัน

ทั้งนี้ต้องระวังอาหารที่มีน้ำมากร่วมด้วย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป และแกงต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ขับปัสสาวะได้น้อย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารปรุงสําเร็จ ซอสปรุงรสต่าง ๆ เพราะ อาหารเหล่านี้มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง ทําให้กระหายน้ํา ท้ังนี้ เกลือโซเดียมยังเพิ่มความดันโลหิตและเร่งให้ไตเสื่อมเร็วอีกด้วย

 

 

อาหารโรคไตเรื้อรัง ถ้ารู้จักกินก็จะยืดอายุไต ของเราได้

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate