ความจริงเรื่องไขมันทรานส์ ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องรู้

ความจริงเรื่องไขมันทรานส์ ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องรู้

“ไขมันทรานส์ (Trans-fat)” ที่ตอนนี้กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก

อายเชื่อว่าเพื่อน ๆ คงทั้งได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน

 

หรือได้ดูกันมาแล้วบ่อย ๆ ค่ะ แต่ว่าวันนี้อายจะมาเล่าเรื่องไขมันทรานส์ฉบับเข้าใจง่าย และที่สำคัญ

 

บทความนี้อายตั้งใจจะมาไขข้องใจที่ว่า ทำไมผู้ป่วยโรคไต ถึงต้องสนใจเจ้าไขมันทรานส์นี้เป็นพิเศษด้วย !

 


แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์

ช่วยแชร์ไปให้เพื่อน ๆ กันด้วยนะคะ ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ

 

 


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเรื่องกรดไขมันเบื้องต้นกันก่อนนะคะ ปกติแล้ว กรดไขมันจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

กรดไขมันอิ่มตัว (SFA) และ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (UFA) ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้ จะแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อยอีก

คือ แบบเชิงเดี่ยว (MUFA) และแบบเชิงซ้อน (PUFA)

 

 

อ้าว แล้วไขมันทรานส์ เกิดขึ้นตอนไหนล่ะ ?

 

ที่มาของไขมันทรานส์มาจาก กรดไขมันไม่อิ่มตัว (UFA) ที่มีอยู่ในน้ำมันพืช เอามาเติมไฮโดรเจนลงไปจนน้ำมันพืชเหลว ๆ นั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็ง และได้กลายเป็น กรดไขมันอิ่มตัว (SFA)

ซึ่งถ้ากระบวนการนี้เปลี่ยน UFA ในน้ำมันพืช ไปเป็น SFA ได้ทั้งหมด (Full Hydrogenation)  มันก็ไม่มีปัญหาค่ะ (คือแปรสภาพได้สมบูรณ์ 100%) แต่หากเกิดเปลี่ยนไปได้แค่บางส่วน (Partial Hydrogenation)

>>> นี่สิคะ จึงเกิดเป็นไขมันทรานส์ขึ้นมา

 

 

สำหรับเมื่อก่อน ไขมันทรานส์ยังไม่ได้ถือว่าเป็นตัวร้ายอะไร เพราะก่อนที่จะเกิดการจำหน่ายมาการีน เนยขาว เนยเทียมขึ้นมา

จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น เนื่องจากเมื่อก่อนผู้คนมีความเชื่อว่า กรดไขมันอิ่มตัวเป็นตัวร้ายสุด ๆ

กินแล้วไม่ดีเอามาก ๆ แต่ก็ไม่อยากจะหยุดกิน (เพราะมันอร่อยมาก) ถึงได้มีการคิดค้นมาการีน เนยขาว เนยเทียม

มาทำขนมทำอาหารแทน แต่พอได้ใช้ไปนานๆ ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมออกมาเรื่อย ๆ เลยว่า

 

 

ไขมันทรานส์นี้ดันอันตรายกว่า ไขมันอิ่มตัวซะอีก !

 

เพราะว่า ไขมันทรานส์นี้ กินแล้วไปลดไขมันดี HDL และไปเพิ่มไขมันเลว LDL ในขณะที่ไขมันอิ่มตัว   ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพขนาดนั้น (ปริมาณที่กินก็ต้องพอเหมาะด้วยนะคะ)

 

เอาล่ะค่ะ เราพอจะรู้จักกับ ไขมันทรานส์กันมาพอสมควรแล้ว ข้อสงสัยต่อไปก็คือ มันเกี่ยวอะไรกับคนเป็นโรคไตกันแน่ ?

เพื่อน ๆ เชื่อไหมคะว่า ผู้ป่วยโรคไต มักเสียชีวิตด้วยโรคอะไร… (ลองคิดดูสิคะ ติ๊กตอกๆๆ)


โรคไต ?

ความดัน ?

หัวใจวาย ?

ติดเชื้อ ?

ขาดสารอาหาร ?

ฟอกไต ?

น้ำท่วมปอด ?

 

 

 

เฉลย.. โรคหลอดเลือดและหัวใจ นั่นเองค่ะ (เย้ ใครตอบถูก แอบปรบมือให้ตัวเองกันด้วยนะคะ)

ใช่แล้วค่ะ เพราะเจ้าโรคหลอดเลือดและหัวใจนี่แหละ ร้ายกาจที่สุด ที่ทำให้ผู้ป่วยอายุสั้นลง และที่อายจะบอกต่อไปก็คือ

การดูแลตัวเอง ที่จะไม่ให้เป็นโรคนี้ก็คือ การเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง นั่นเอง


ซึ่งจากสถิติของสมาคมโรคหัวใจและสมาคมโรคไตในอเมริกา ได้ชี้แจงออกมาด้วยนะคะ ว่าโรคหลอดเลือดหัวใจ

เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียชีวิตมากที่สุด รวมถึงในประเทศไทยเอง

โรคนี้ก็อยู่ในสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียชีวิตด้วยเช่นกัน

 

 

ว่าแต่ ทำไมกันล่ะ..ไปดูกันต่อเลยค่ะ

 

 

 

4 สาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไต เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนอื่น ๆ

เป็นโรคไต เกิดโลหิตจางได้ง่าย โดยเฉพาะใครที่มีค่า Hemoglobin ต่ำกว่า 9 ก็จะเสี่ยงสูง เพราะเมื่อโลหิตจาบ จะไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต และเป็นนานเข้าก็ทำให้เสียชีวิตได้

เป็นโรคไต มีภาวะไข่ขาวรั่ว (ชนิด microalbumin) ในปัสสาวะ

เป็นโรคไต สภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล ค่าแคลเซียม ค่าฟอสฟอรัส และค่า PTH ที่ไม่ปกติ ทำให้เส้นเลือดตีบตัน อัดตันและกล้ามเนื้อหัวใจโต จึงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

เป็นโรคไต ทำให้ไขมันสูงกว่าปกติอยู่แล้ว ดังนั้นจะกินอาหารประเภทไขมันทั้งที จึงควรเป็นไขมันดี และมีปริมาณพอเหมาะ เนื่องจากไตเสื่อม เลยทำให้ร่างกายสร้างไขมันออกมามากว่าคนปกติทั่วไป ถึงต่อให้ไม่กินไขมันเข้าไปเลย ร่างกายก็สร้างขึ้นมาอยู่ดี ผู้ป่วยโรคไตจึงมักได้กิน

ยาลดไขมันอยู่ตลอด ที่สำคัญ การเลือกอาหารจึงควรเลือกที่ไขมันน้อยเข้าไว้ และต้องเลี่ยงไขมันทรานส์ด้วยค่ะ

 

เห็นไหมคะ ว่าจริง ๆ แล้วกลุ่มคนที่เสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่าย ก็คือ ผู้ป่วยโรคไตนี่ล่ะค่ะ  แล้วในฐานะที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงแบบนี้ ถ้าเราจะไม่เลือกอาหารดี ๆ หรือจะไม่ทำความเข้าใจถึงอันตรายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น กับตัวเรา หรือคนที่เรารัก (หากใครเป็นญาติ) มันก็ไม่ได้จริงไหมล่ะคะ ^^

เพื่อน ๆ ที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ อายเชื่อว่า คงจะเข้าใจเรื่องไขัมนทรานส์ และโรคไตมากขึ้นแล้วนะคะ ว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง รวมถึงทำไมเราต้องสนใจด้วย สุดท้ายนี้ก็ขอฝากวิธีเลือกอาหารง่าย ๆ ปลอดภัยจากไขมันทรานส์ ไว้ว่า

 

“เราควรฝึกพลิกดูฉลากโภชนาการทุกครั้ง ก่อนตัดสินใจซื้อขนมหรืออาหารใด ๆ ให้เป็นนิสัยเอาไว้”

ขอให้ทุกคนมีความสุขและแข็งแรง ๆ กันถ้วนหน้าค่าา

 

 

**ค่าไขมันอิ่มตัวที่เหมาะสม คือไม่เกิน 5 กรัม/หน่วยบริโภค และไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภค**

อย่าลืมแชร์บทความนี้ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ

 

 

ข้อมูลอ้างอิง :


https://www.honestdocs.co/risks-for-cardiovascular-disease-chronic-kidney-patients
https://www.dropbox.com/s/brzlqgf76g9g6hz/F17.pdf?dl=0
https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/1788-trans-fat
https://www.facebook.com/kmitlnews/posts/1910408765687066
https://www.facebook.com/sheisadietitian/posts/2015032551864855

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก kidneymeal

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kidneymeal