สูตรลดอ้วน สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องการลดน้ำหนัก

สูตรลดอ้วน สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องการลดน้ำหนัก

สูตรลดอ้วน ใครๆก็อยากผอม พุงยุบ หุ่นดี

แต่ติดที่มีปัญหาโรคประจำตัว โดยเฉพาะถ้าหากเป็นโรคไต จะสามารถลดน้ำหนักได้ไหม ควรกินอาหารอย่างไรนั้น คุณเอกหทัย แซ่เตีย นักกําหนดอาหาร หัวหน้านักกำหนดอาหารด้านโภชนาการ สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มีคำตอบมาบอกทุกคน

“ผลการศึกษาหนึ่งพบว่า หากมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน การลดปริมาณอาหารประจําวันลงวันละ 500 กิโลแคลอรี สามารถลดน้ำหนักได้เดือนละ 1 – 2 กิโลกรัม แถมมีผลชะลอ ไตเสื่อมและลดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะด้วย”

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลดีในระยะยาว คุณเอกหทัยแนะนํา ให้ควบคุมอาหารร่วมกับการออกกําลังกาย เพราะการออกกําลังกายอย่างเหมาะสมไม่เพียงช่วยขับโซเดียมผ่านเหงื่อ ลดการทํางานของไตในการขับของเสีย ยังช่วยเพิ่มความไวในการ ทํางานของอินซูลิน ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกด้วย

 

กินถนอมไต สำหรับลดอ้วน

ไม่เเนะนําให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำกัดอาหาร หรือลดความอ้วนโดยพลการ แต่ควรปรึกษาแพทย์และนักกําหนด อาหารให้ช่วยประเมินดัชนีมวลกาย รวมถึงความเสี่ยงเช่น การขาดสารอาหารจากการลดน้ำหนักร่วมด้วย

หากพบว่าดัชนีมวลกายสูงเกินมาตรฐาน สมควรที่ต้อง ลดน้ำหนัก นักกําหนดอาหารจะแนะนําอาหารตามสภาวะของ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยลดปริมาณพลังงานจากอาหารประจําวันของผู้ป่วยลงวันละ 500 กิโลแคลอรี

 

วิธีลดพลังงานไม่จําเป็น

ต้องกินอาหารปริมาณน้อยลงเสมอไป เพียงลดน้ำตาลและ ไขมันในอาหารประจําวันก็สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ ตามที่คุณเอกหทัยให้ข้อมูลว่า

“การควบคุมอาหารทําได้โดยลดขนมหวาน น้ำตาล หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารทอด แกงกะทิ เนื้อสัตว์ไขมันสูง หันมากินอาหารแบบต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง ยําแทน สําหรับใคร ที่หิวบ่อย บางมื้อสามารถเลือกนําแป้งปราศจากพลังงาน เช่น บุก หรือเส้นแก้ว (วุ้นเส้นสาหร่าย) มาปรุงอาหารก็ช่วยให้ อิ่มท้องและช่วยให้น้ำหนักค่อย ๆ ลดลงได้”

คุณเอกหทัยเน้นว่า ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรลดน้ำหนักอย่าง หักโหม แต่ควรลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยควร ลดน้ำหนักไม่เกินเดือนละ 2 กิโลกรัม คุณเอกหทัยยังเสริมว่า

“อย่าลืมออกกําลังกายแบบความหนักปานกลางร่วมด้วย เช่น การเดิน แกว่งแขน ปั่นจักรยาน เล่นยางยืด วันละ 30 – 60 นาที แต่ต้องระวังไม่ให้เหนื่อยเกินไป วิธีตรวจสอบ ง่าย ๆ คือ ขณะออกกําลังกายสามารถพูดคุยเป็นประโยค รู้เรื่อง แต่ถ้าถึงขนาดพูดไม่ออก หายใจไม่ทัน แสดงว่า ออกกําลังกายหนักเกินไป”

รูปถาพจาก pixels

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  goodlifeupdate 

แหล่งที่มา  ชีวจิต ฉบับที่ 30 May 2019