อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยที่ต้องล้างไต

อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยที่ต้องล้างไต

อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยไตที่ต้องล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม

ก็สามารถกินได้เหมือนกันนะ

วันนี้ คุณเอกหทัย แซ่เตีย นักกําหนดอาหาร หัวหน้านักกำหนดอาหารด้านโภชนาการ สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มีคำแนะนำมาบอกว่า สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องล้างไตจะต้องกินอาหารอะไรดีที่เหมาะกับโรค

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม

เมื่อไตเสื่อมจนเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้าย คือไตไม่สามารถทําหน้าที่กําจัดของเสียได้อีกต่อไป จึงจําเป็นต้องใช้ไตเทียมทําหน้าที่ ชะล้างของเสียที่คั่งค้างภายในร่างกายแทน อาจเลือกล้างไตโดยการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ล้างไตผ่านทาง ช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต ในกรณีนี้ จะกล่าวถึงการล้างไตที่ไม่รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนไต

คุณเอกหทัย อธิบายายว่า

“สําหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะใช้วิธีดึงเลือดของผู้ป่วยที่เต็มไปด้วยของเสียต่างๆ ออกมาผ่าน เข้า เครื่องไตเทียม เมื่อเลือดไหลผ่านตัวกรองของเสียและเกลือแร่ น้ำส่วนเกินในเลือดจะถูกกรองทิ้ง เหลือแต่เลือดดีไหลกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอีกครั้ง แต่ระหว่างที่เลือดไหลไปเพื่อกรองของเสีย สารโปรตีนในร่างกายของคนไข้จะถูกกรองทิ้งไปด้วย”

 

กินถนอมไต

โดยเฉลี่ยผู้ที่รับการฟอกเลือดจะมีการสูญเสียสาร โปรตีนในรูปของกรดแอมิโนเฉลี่ยวันละ 27–39 กรัม หรือเทียบเท่ากับ การกินไข่ราว 8–12 ฟอง หากกินอาหารเหมือนก่อนฟอกเลือด อาจเสี่ยงทําให้ผู้ป่วยขาดโปรตีน ดังนั้นในระยะนี้จึงต้องเปลี่ยน จากการจํากัดโปรตีนเป็นกินโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มโปรตีนหรือ เนื้อสัตว์จากเดิมอีกเท่าหนึ่ง หรือประมาณวันละ 12–18 ช้อนแกง ส่วนผักผลไม้อื่น ๆ แนะนําให้กินอาหารโรคไตเหมือนช่วงก่อนเข้ารับการล้างไต
ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง
การล้างไตผ่านทางหน้าท้องเป็นการขจัดของเสียในเลือดโดยใช้ผนังหน้าท้องของผู้ป่วย เป็นตัวกรองแทนเครื่องไตเทียม น้ำยาซึ่งมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่จะถูกใส่เข้าไป ในช่องท้อง หลังจากนั้นน้ำยาจะดูดซึมของเสียจากเลือดออกมา ในขณะเดียวกันน้ำตาล บางส่วนที่อยู่ในน้ำยาก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย หลังครบกําหนดเวลาก็จะปล่อย น้ำยาที่มีของเสียออกจนหมด แล้วจึงเริ่มใส่น้ำยาใหม่เข้าไปในช่องท้องอีกครั้ง ทําทุกวัน วันละ 4–6 ครั้ง

 

กินถนอมไต

คุณเอกหทัยแนะนําว่า

“การล้างไตวิธีนี้ทําให้โปรตีนประมาณ 20–30กรัม และเกลือแร่บางชนิดถูกกําจัดทิ้งตลอดเวลาพร้อมกับของเสียในเลือด ผู้ป่วยจึงเสี่ยงมี ระดับโปรตีนไข่ขาวและโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนนี้น้ำยาล้างไตมีน้ำตาล เป็นส่วนประกอบอาจทําให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง”
คุณเอกหทัยจึงแนะนําว่า อาหารโรคไตสำหรับผู้ที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องกินเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา หรือ ไข่เพิ่มขึ้นจากเดิมหนึ่งเท่า เช่น เดียวกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และควรกิน ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม มะละกอ ฝรั่ง แตงโม แก้วมังกร มะขาม เสาวรส ผลไม้อบแห้งต่างๆ วันละ 2–3 จานรองถ้วยกาแฟ

 

รูปภาพจาก pixels

 

และกินผักที่มีโพแทสเซียมปานกลางถึงสูงอย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี เช่น คะน้า แครอท ถั่ว ฝักยาว บรอกโคลี มะเขือเทศ มะระ ฟักทอง กะหล่ำปลีสีม่วง

 

ส่วนผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจลดการกินข้าวลงจากเดิม เพิ่มการกินผัก และ หลีกเลี่ยงน้ำหวาน ของหวาน และขนมหวานต่าง ๆ ที่สําคัญคือผู้ป่วยยังต้องกินอาหาร รสจืดเช่นเดิม

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate

แหล่งที่มา ชีวจิต ฉบับที่ 2 May 2018