4 วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน

4 วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด สามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ จากสถิติผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศระบุว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ใน พ.ศ. 2557 หากปล่อยให้เป็นเบาหวานนาน ๆ จะส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ตาบอด ไตวาย มีปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งดอาหารหวาน มัน เค็ม และออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว หนทางที่ดีที่สุด คือการใส่ใจตรวจคัดกรองโรคนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง

ครั้งนี้ชีวจิต ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ ประธานวิชาการ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

มาตอบคำถามเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานให้ถูกต้องครับ

 

BENEFITS OF SCREENING TEST

ตรวจน้ำตาลก่อน รู้ก่อน ลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน

 

 

นายแพทย์เพชรอธิบายถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานว่า

“สถิติจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ระบุว่า คนไทยเป็นเบาหวาน ร้อยละ 8.9 อาจดูไม่มาก แต่ถ้าคิดภาพตามว่า คนไทยทุก ๆ 11 คนจะมีคนเป็นเบาหวาน 1 คน แบบนี้ทำให้เริ่มมองเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยโรคนี้ไม่ได้น้อยอย่างที่คิดเลย ปัจจุบัน
มีผู้ป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 43 ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้ จึงทำให้ไม่มีการปรับพฤติกรรม ปรับอาหาร กว่าจะรู้ว่าเป็นเบาหวานและไปพบแพทย์ก็มักมีโรคแทรกซ้อน เช่น ตาบอด ไตวาย และมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดสมองและหัวใจไปแล้ว

“ก่อนหน้าที่จะมีการรณรงค์ตรวจคัดกรองเบาหวานอย่างจริงจังเราพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มมาพบแพทย์ครั้งแรก จำนวนถึง 1 ใน 3 มีอาการของโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะอื่นๆแล้ว เช่น ตาบอด ไตวาย เป็นแผลที่เท้ารักษาไม่หายสักที ถ้าปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปมากกว่า 6 – 7 ปีโดยไม่มาพบแพทย์แบบนี้ก็รักษาได้ลำบากแล้ว”

นายแพทย์เพชรทิ้งท้ายว่า

ปัจจุบันทุกสิทธิทั้งสิทธิประกันสังคมและสิทธิ 30 บาท ให้ความดูแลครอบคลุมการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานได้ ขอให้ประชาชนที่มีเงื่อนไขตามเกณฑ์ดังนี้ ได้แก่ อายุ 35 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัว ญาติสายตรงเป็นเบาหวาน มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ไปตรวจคัดกรองเบาหวานเพื่อความมั่นใจ กรณีที่ตรวจแล้วผลน้ำตาลในเลือดเป็นปกติก็ควรมาตรวจซ้ำ

โดยถ้าพบ ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี แต่ถ้าพบ ระดับนำ้ตาลตั้งแต่ 100 – 125 มิลลิกรัม/ เดซิลิตรให้มาตรวจซำ้ ทกุ 1 ปีและให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปพร้อม ๆ กัน เช่น ออกกำลังกาย คุมอาหาร ได้เลย

นอกจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว นายแพทย์เพชรย้ำว่า ขอให้ใส่ใจสุขภาพโดยรวม โดยแนะนำให้ตรวจระดับไขมันในเลือดและระดับความดันโลหิตพร้อม ๆ กัน เนื่องจากสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพยากรณ์กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ เพราะส่วนใหญ่โรคเหล่านี้มักจะมีการดำเนินโรคเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับผลระดับน้ำตาลกับไขมันในเลือดและความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

 

4 วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด

SCREENING TEST

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อคัดกรองเบาหวาน ป้องกันก่อนเกิดโรคแทรกซ้อน วิธีตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน นายแพทย์ชัยชาญอธิบายว่า ปัจจุบันมีวิธีตรวจวินิจฉัยเบาหวาน 4 วิธี ดังนี้

 

1. เจาะเลือดตรวจระดับนำ้ตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือ FBS)

วิธีนี้เป็น วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ที่ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักกันดี ราคาไม้แพง แต้ต้องงดอาหาร โดยผู้ตรวจต้องต้องงดอาหารก่อนการเจาะเลือด 8 ชั่วโมง เพราะการกินอาหารเข้าไปจะมีผลต่อระดับกลูโคสในเลือด แต่ระหว่างนั้นสามารถดื่มน้ำเปล่าได้

การแปลผล เกณฑ์ปกติต้องมีน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ถ้ามีนำ้ตาลกลูโคสตั้งแต่ 100 – 125 มิลลิกรัม / เดซิลิตรจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารทันที แตถ้ามีน้ำตาลกลูโคสสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร ถือว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ต้องพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาโรคเบาหวานต่อไป

ประโยชน์วิธีนี้ใช้ตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินผลการรักษาต่อไป

 

2. การวัดปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยที่ผ่านมามาเป็นระยะเวลา 3 เดือน (Glycohemoglobin HbA1c)

วิธีนี้ทำให้ทราบระดับนำ้ตาลเฉลี่ยสะสม ซึ่งเป็นค่าของน้ำตาลในเลือดที่มาจับกับโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ใช้ระบุถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่สะสมตลอด 2 – 3 เดือนที่ผ่านมาได้ ขณะที่วิธีแรกจะทำให้ทราบค่านำ้ตาลในเลือดในระยะเวลา 2 – 3 วันที่ผ่ามา ไม่ต้องอดอาหาร สามารถเจาะเวลาไหนก็ได้ แต่มีราคาแพงและมีให้บริการตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงเรียนแพทย์ เนื่องจากเป็นการตรวจที่ต้องได้มาตรฐานสูง

การแปลผล ตามเกณฑ์ปกติ จะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมระหว่างร้อยละละ 4 – 6 ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.5 ขึ้นไป

ประโยชน์ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด วิธีนี้ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน ใช้ติดตามเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ซึ่งมักจะทำโดยการเจาะเลือดทุก 3 – 4 เดือน และสุดท้ายใช้ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน เนื่องจากผู้ที่มีค่า HbA1c สูงจะมีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนสูงไปด้วย

 

3. การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลแบบสุ่ม (Random Blood Sugar หรือ RBS)

กรณีที่แพทย์ซักประวัติแล้ว พบว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย นำ้หนักตัวลด จะใช้ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด โดยสามารถตรวจเวลาไหนก็ได้ไม่ต้องอดอาหารมาก่อน

การแปลผล เกณฑ์ปกติอยู่ที่ระหว่าง 80 – 120 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ช่วงก่อนอาหาร หรือหลังตื่นนอน และระหว่าง 100 – 140 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร ช่วงก่อนนอน ถ้าพบว่ามีค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม / เดซิลิตรขึ้น ไปถือว่าเป็นเบาหวาน ให้พบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการ
รักษาโรคเบาหวานได้เลย

ประโยชน์ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าสามารถตรวจเวลาไหนก็ได้ นอกจากใช้ตรวจวินิจฉัยผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานแล้ว ยังใช้ตรวจผู้ที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย

 

4. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test หรือ OGTT)

ส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษาวิจัย ทำโดยให้ผู้ป่วยยอดอาหาร 8 ชั่วโมง จากนั้นเจาะเลือดตรวจ ทั้งก่อนการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม และหลังการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม 2 ชั่วโมง เพื่อตรวจดูระดับพลาสมากลูโคส

การแปลผล หากพบระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมง ตำ่ กว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าปกติ แต่ถ้ามีระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมง มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน และถ้าอยู่ระหว่าง 140 – 199 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ถือว่าเป็นผู้ที่มีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง (Impaired Glucose Tolerance Test)

ประโยชน์ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ผลตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงไม่ถึง 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะใช้วิธีนี้ตรวจซ้ำการตรวจคัดกรองเบาหวานเท่ากับการตรวจหาสัญญาณเตือนภัย ดังนั้นถ้ายิ่งตรวจเร็วก็ก็ยิ่งมีโอกาสหายได้เร็วขึ้นนั่นเอง

 

DID YOU KNOW?

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก

1. การตรวจเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

นายแพทย์ชัยชาญ อธิบายว่า หลายครั้งมักพบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นเบาหวานสาเหตุเพราะรกสร้างฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านอินซูลิน จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์บางคนเป็นเบาหวาน ถ้าไม่รักษาหรือควบคุมให้ดีจะส่งผลให้ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ คลอดยาก และพบปัญหาทารกหลังคลอดมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

 

ปัญหาหญิงตั้งครรภ์เป็นเบาหวานพบได้ ตั้งเเต่ร้อยละ 10 – 20 ของหญิงตั้งครรภ์ ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 25 – 30 ปีขึ้นไป และถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อ้วนและมีประวัติสมาชิกครอบครัวสายตรงเป็นโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้การ ตรวจน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องตรวจด้วย การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test หรือ OGTT) เท่านั้น เพราะในหญิงตั้งครรภ์มักมีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารไม่สูง

 

2. การตรวจเบาหวานในเด็ก

นายแพทย์ชัยชาญอธิบายเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปคำแนะนำในการตรวจคัดกรองเบาหวาน คือ ต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีของเด็กนั้นถ้าเข้าเกณฑ์ ที่มีความเสี่ยงได้แก่ เด็กมีอายุ 10 ปี ขึ้นไปมีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน มีสมาชิกครอบครัวสายตรง

 

 

โดยเฉพาะพ่อหรือแม่เป็นโรคเบาหวาน และเด็กมีรอยดำหนาเป็นปื้นที่ต้นคอ ถูเท่าไรก็ไม่ออก แสดงว่าร่างกายเริ่มมีภาวะดื้ออินซูลินแล้ว ให้ตรวจคัดกรองเบาหวานและปรึกษาแพทย์ทันที โดยจะใช้วิธีเจาะเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือ FBS)

 

ที่มา: คอลัมน์TRENDY HEALTH เรื่อง ศิริกร โพธิจักร นิตยสารชีวจิต

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate