กินยาผิดๆ ถูกๆ เสี่ยงไตวาย

กินยาผิดๆ ถูกๆ เสี่ยงไตวาย

กินยาไตพัง กินผิด ชีวิตไตสั้น

กินยาไตพัง คำนี้หลายคนอาจคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่เราจะเช็กได้อย่างไรว่าไตของเรากำลังจะเสื่อมเพราะกินยา

 

 

เชื่อว่าคนทํางานต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ ประจําปีกันอยู่แล้ว หากได้รับรายงานผลตรวจ แนะนําให้ทุกคนเพ่ง ไปที่ค่าครีเอทินีน (Creatinine) หรือค่าที่ชี้วัดการ ทํางานของไตในการขับของเสียที่เกิดจากการสลายตัว ของกล้ามเนื้อ คนปกติต้องอยู่ที่ 1-1.5 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร

ใครที่ค่าครีเอทินีนปริ่ม ๆ จะแตะเพดานมาตรฐาน แล้ว ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะไตกําลังทํางาน ผิดปกติหรืออาจมีภาวะไตวายเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า

“คนปกติค่าครีเอทินีนจะอยู่ระหว่าง 1 – 1.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าเกินจาก 1.5 แสดงว่าไตสูญเสีย การทํางานไปกว่า 60 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่จะไม่แสดง อาการผิดปกติ เพราะไตมีสองข้าง ข้างหนึ่งทํางาน น้อย อีกข้างหนึ่งจะช่วยทํางานแทน เหมือนคน ที่บริจาคไตให้น้องหรือญาติ เขาก็สามารถใช้ชีวิตได้ ตามปกติ แม้ไตจะเหลือข้างเดียวหรือเหลือการทํางาน เพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์”

 

กินอะไรเสี่ยงไตพัง

สําหรับคนทั่วไปที่ยังไม่มีภาวะไตวาย แต่มีอาการ ดังต่อไปนี้คือ ขาบวม น้ำหนักลด ผมร่วง หน้าซีด และอ่อนเพลีย คุณหมอสุรศักดิ์อธิบายว่า เป็นผล มาจากไตสูญเสียการทํางานไปแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะต้องรีบกลับมาเช็กพฤติกรรมการกินของตัวเองด่วน เพราะมียาและอาหารบางชนิดที่ส่งผลต่อการทํางาน ของไต เมื่อปรับพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง อาจ ทําให้เปอร์เซ็นต์การทํางานของไตขยับสูงขึ้นได้

 

กินยาผิด ชีวิตสั้นลง (กินยาไตพัง )

คุณหมอสุรศักดิ์สรุปพฤติกรรมการกินยาเสี่ยง ไตพังไว้ว่า ยาส่วนใหญได้รับการศกึกษาวจัยมาแล้วเป็นอย่างดีว่ามีคุณมากกว่ามีโทษ จึงสมควรให้มีการใช้ในผู้ป่วย แต่ยาบางชนิดถ้าเราไม่กินตามคําแนะนําของแพทย์ ก็อาจมีผลเสียต่อไตและตับได้ มีกลุ่มยาที่ส่งผลต่อ การทํางานของไตที่ต้องเฝ้าระวังหลายชนิด ดังนี้

• ยาแก้ปวดหรือพาราเซตามอล เป็นยาที่มีรายงาน ว่า มีความเป็นพิษต่อไตเป็นอันดับหนึ่ง คนไข้ไม่ควร กินติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ บางคนกินต่อกันนาน เป็นปีหรือหลายปี จึงมีโอกาสทําให้ไตทํางานผิดปกติ

• ยาต้านการอักเสบซึ่งไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ยาแก้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้ออักเสบ ยาแก้ข้ออักเสบ ยาแก้อาการปวดท้องประจําเดือน ยากลุ่มแก้ปวดออกฤทธิ์เเรง จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งควรกินภายใต้การ ดูแลของแพทย์ ปกติไม่ควรกินนานเกิน 7 วัน

นอกจากนี้ผู้ที่กินยากลุ่มนี้แล้วมีความเสี่ยงต่อ ภาวะไตวายคือ ผู้มีอายุเกิน 60 ปี ผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น เป็นโรคไตอยู่เดิม โรคหัวใจ เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจ เกิดจากอาการท้องเสีย อาเจียนรุนแรง ดื่มน้ำไม่ได้ เพราะจะทําให้ปัสสาวะน้อย ซึ่งจะทําให้ร่างกายไม่ สามารถขับยาออกได้เต็มที่ จึงเกิดการสะสมของพิษยา อาจทําให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

ดังนั้น ผู้ที่กินยากลุ่มนี้จึงได้รับคําแนะนําว่า ต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ นั่นเอง

 

สมุนไพรจีนที่ต้องระวัง

นอกจากกลุ่มยาแผนปัจจุบันที่หากกินไม่ถูกอาจ ทําให้ไตพังแล้ว ยังมีสมุนไพรจีนบางชนิดที่มีผลเสีย ต่อไต คุณหมอสุรศักดิ์อธิบายดังนี้

“มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับพิษของสมุนไพรจีนซึ่งเป็น ที่ยอมรับในอเมริกาและยุโรป พบว่า สมุนไพรจีน ช่วยลดน้ำหนักบางชนิด ตรวจพบกรดแอริสโทโลคิก (Aristolochic Acid) ซึ่งพบว่าสารตัวนี้จะทําให้เกิด ภาวะไตวายเฉียบพลันถ้ากินในปริมาณมาก แต่ถ้ากิน ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทําให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาไตทํางานผิดปกติอยู่แล้วยิ่งเสี่ยง อันตราย”

 

อาหารที่ต้องระวัง

คราวนี้มาสู่หัวข้ออาหารที่ควรระวัง คุณหมอ สุรศักดิ์สรุปไว้ดังต่อไปนี้

 

• มะเฟือง ที่ประเทศไต้หวันมีรายงานทางการ แพทย์พบว่า ผู้ป่วยที่ไตมีปัญหาอยู่แล้ว เมื่อดื่มน้ำ คั้นมะเฟืองสดทีเดียว 5-6 ลูก ทําให้เกิดภาวะไตวาย เฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ สันนิษฐานว่าเป็นเพราะ การดื่มน้ำมะเฟืองคั้นสด

เนื่องจากในมะเฟืองมีสารออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารนี้สามารถตกตะกอนในท่อไตได้ จึงทําให้คนไข้ ปัสสาวะน้อยหรือปัสสาวะไม่ออก ทําให้ไตมีปัญหาได้

 

• ลูกเนียง ในลูกเนียงพบกรดเจนโคลิก (Djenkolic Acid) ซึ่งสารนี้ สามารถตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วในท่อไตได้เช่นกัน จึงควรกินในปริมาณ พอเหมาะ

 

กิน อยู่ เพื่อไตแข็งแรง

นอกจากเลี่ยงพฤติกรรมการกินที่ส่งผลเสียต่อไตแล้ว เรายังสามารถ ช่วยป้องกันไตไม่ให้ถูกทําลายและเสริมการทํางานให้แข็งแรงได้ด้วย คุณหมอสุรศักดิ์แนะนําดังนี้

 

1. กินยาเท่าที่จําเป็น ป้องกันการ กินยาไตพัง และต้องกินตามคําแนะนําของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเอง โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคไต หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

 

2. ไม่กินอาหารรสเค็มจัด เนื่องจากอาหารรสเค็มจะทําให้ไตต้อง ทํางานหนักขึ้น จึงควรกินอาหารรสชาติปานกลาง

 

 

งดอาหารเค็มจัด ดื่มน้ำเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยบำรุงไตให้แข็งแรง

 

3. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แนะนําให้ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้วขึ้นไป

 

 

4. กินผักผลไม้ เพราะมีสารโพแทสเซียมและแอนติออกซิแดนต์สูง ซึ่งจะช่วยลดระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ เมื่อความดันโลหิตอยู่ใน เกณฑ์ปกติก็จะช่วยให้ไตทํางานเป็นปกติ

 

 

5. ออกกําลังกายสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ และเบาหวาน ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ส่งผลต่อการทํางานของไต

 

 

 

อย่าลืมนําคําแนะนําดี ๆ ไปปรับใช้ เพื่อให้ระดับครีเอทินีนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ป้องกันการ กินยาไตพัง

สุขภาพไตจะแข็งแรง รวมถึงสร้างความสดชื่นให้ร่างกายโดยรวมของเราทุกระบบด้วย

 

 

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate