กินเค็มหน่อยๆ อร่อยดี! มาดูแนวทางกินเค็มอย่างไรให้ดีต่อใจและไตของคุณ

กินเค็มหน่อยๆ อร่อยดี! มาดูแนวทางกินเค็มอย่างไรให้ดีต่อใจและไตของคุณ

ลดเค็ม ลดโซเดียม ลดโรค

แนวทางการป้องกันโรคไตที่ดีที่สุด คือ การลดการกินอาหารเค็ม หรือลดการกินโซเดียมลง โดยวิธีการที่ดีและได้ผลสุด คือ การทำอาหารกินเองจากที่บ้าน เพื่อที่จะได้ควบคุมปริมาณการใส่เครื่องปรุงไม่ให้มากเกินความต้องการของร่างกาย

เนื่องจากการกินอาหารนอกบ้าน มักมีการเติมหรือปรุงรสเค็มด้วยน้ำปลาหรือมากไป ซึ่งสูงถึง 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยผลเสียที่ตามมาคือ ร่างกายมีโซเดียมสูง ทำให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และส่งผลเสียโดยตรงต่อไต

 

แนวทางการเลือกกินอาหารรสเค็มที่จะช่วยลดโซเดียม แต่ยังอร่อยถูกปาก มีดังนี้

พยายามกินอาหารรสธรรมชาติ ปรุงโดยเติมน้ำปลา เกลือ ซอสต่างๆ ให้น้อยที่สุด เป็นการฝึกลิ้นให้คุ้นเคยกับอาหารจืด แม้รสเค็มจะทำให้อาหารอร่อย อาหารจืดๆ รสชาติไม่ชวนกิน เราสามารถแก้ไขโดยการปรุงให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ดแทน โดยการใส่เครื่องเทศ สมุนไพรต่างๆ จะช่วยให้มีกลิ่นหอม รสชาติดี ชวนกินมากขึ้น

 

 

รูปภาพจาก pixels

 

ลดหรือเลิกการใส่ผงชูรสในอาหาร แม้ผงชูรสเป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 15%

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เขียนฉลากว่า โซเดียมต่ำ เลือกที่มีโซเดียมน้อยทีสุด หรือดูส่วนประกอบ เช่น ถ้าผลิตภัณฑ์ไหนมีโซเดียมมากกว่า 0.5 กรัม หรือเกลือ 1.25 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ถือว่ามีเกลือและโซเดียมมากไป

 

5 อาหารควรเลี่ยง

อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ข้าวกล่องสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กซอง

 

รูปภาพจาก unsplash

 

อาหารหมักดอง แช่อิ่ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน

 

รูปภาพจาก unsplash

 

รูปภาพจาก pixels

 

อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง

 

รูปภาพจาก unsplash

 

อาหารหมักเค็ม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก

 

รูปภาพจาก pixels

 

อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ผักดองกระป๋อง

 

รูปภาพจาก pixels

 

 

2 สิ่งควรลด

ลดการจิ้มน้ำจิ้มต่างๆ กับอาหาร เช่น พริกเกลือจิ้มผลไม้ ซอสจิ้มเนื้อสัตว์

 

รูปภาพจาก unsplash

 

ลดการกินอาหารทะเลโซเดียมสูง กินแต่พอดี เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่

 

รูปภาพจาก unsplash

 

เนื่องจากสาเหตุของโรคไตส่วนใหญ่มากจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยการกินเค็มจะเพิ่มความเสี่ยงโรคกลุ่มนี้มากขึ้น ดังนั้น นอกจากเลือกกินอาหารแล้ว แนวทางการป้องกันโรคไตยังต้องมาจากการดูแลสุขภาพร่างกายด้วย

 

ตรวจร่างกายทุกปี โดยวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับของเสียในเลือด โดยผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตมาก คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อ้วน อายุมาก สูบบุหรี่จัด กินยาแก้ปวดข้อเป็นประจำ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต ควรตรวจปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะเพื่อวัดค่าการทำงานของไตเพิ่มด้วย

 

รูปภาพจาก unsplash

 

กินหารอย่างสมดุลในแต่ละมื้อ โดยเพิ่มผักและผลไม้ในแต่ละมื้อ เลี่ยงอาหารที่มีไขมันและโปรตีนมากไป เลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารที่ใส่ผงชูรส ของหวานจัดเค็มจัด

ดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้วต่อวัน การดื่มน้ำน้อยจะทำให้ปริมาตรเลือดในร่างกายลดลง เกิดภาวะขาดน้ำ เลือดหนืด ปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง และดื่มน้ำเพิ่มเมื่อเสียเหงื่อ อยู่กลางแดด แต่อย่าดื่มมากเกินไป

 

รูปภาพจาก pixels

 

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหม และไม่ควรออกกำลังกายในช่วงป่วยไข้ โดยการออกกำลังกายจะช่วยลดไขมันและความดันโลหิตได้

 

รูปภาพจาก pixels

 

นอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเพื่อให้อวัยวะในร่างกายได้พักผ่อน

 

รูปภาพจาก pixels

 

คุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตัน

เลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

 

รูปภาพจาก pixels

 

ไม่กลั้นปัสสาวะบ่อย เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

ไม่ซื้อยาแก้ปวดข้อ ยาคลายเส้น ยาคลายกล้ามเนื้อมากินเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะยาเหล่านี้ส่งผลเสียต่อการทำงานของไต

ระวังเรื่องอาหารเสริม เพราะอาหารเสริมบางอย่างอาจมีเกลือหรือสเตียรอยด์ปะปนอยู่มากเกินไป จนอาจทำลายไต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มกินอาหารเสริมทุกครั้ง

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate

ข้อมูลจากหนังสือ คู่มือป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคไต

ศ. นพ. ยิ่งยศ อวิหิงสานน์

อ. พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม