5 วิธีควบคุมอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวาน

5 วิธีควบคุมอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวาน

อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวาน

อาหารโรคไต มีหลากหลายรูปแบบ และอาหารแต่ละอย่างยังมีความจำเพาะกับผู้ป่วยเเต่ละโรคด้วย โดยเฉพาะอาหารโรคไต ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย ยิ่งควรต้องระมัดระวังการกินอย่างยิ่ง

โรคเบาหวานนับเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของโรคไตวาย เรื้อรัง จึงพบว่าผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย คุณเอกหทัย แซ่เตีย นักกําหนดอาหาร หัวหน้านักกำหนดอาหารด้านโภชนาการ สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ อธิบายจากประสบการณ์ว่า

“ถ้าผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควบคุมอาหารหรือกินยาตามที่ แพทย์สั่งเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสมภายใน 10 ปี จะเสี่ยงเป็นโรคไตเรื้อรัง 20 – 40 เปอร์เซ็นต์ และถ้ายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 20 ปี จะมีผู้ป่วยถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่ไตถูกทําลายจนมีอาการไตวาย ระยะสุดท้าย

“เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ หลอดเลือดแดง ขนาดเล็กก็จะหนาตัวขึ้น ถ้าหลอดเลือดแดงบริเวณไตหนาตัวขึ้น เลือดก็จะไปเลี้ยงไตได้น้อยลง ไตที่ขาดเลือดก็เหมือนขาดอาหาร เนื้อไตจะถูกทําลายและเสื่อมในที่สุด”

คุณเอกหทัยฝากเตือนถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานว่า ให้ลด การกินอาหารหวาน เพิ่มผักผลไม้ และออกกําลังกายอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตตามมา แต่สําหรับผู้ที่เป็นโรคไตแล้ว เน้นว่าเป้าหมายสําคัญคือ ยืดอายุไตให้นาน ที่สุด โดยกินอาหารเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ซึ่งจะช่วย ให้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายช้าที่สุด

 

กินถนอมไต

เมื่อป่วยเป็นโรคไตแล้ว ควรใส่ใจเรื่อง อาหารประจําวันมากขึ้น โดยคุณเอกหทัยแนะนําให้กินแบบ “4 ลด” เพื่อปกป้องไต คือ ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม และ ลดเนื้อ มีรายละเอียดดังนี้
กินแบบลดหวาน

คือ กินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ควรจํากัดน้ำตาลนอกมื้ออาหาร ไม่ให้เกินวันละ 6 ช้อนชา และระวังน้ำตาลจากผลไม้รสหวาน จัดและน้ำผลไม้

 

 

นอกจากนี้ใยอาหารในผักทําหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน การดูดซึมน้ำตาล จึงช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล ในเลือด จึงควรกินผักสุกมื้อละ 1–2 ทัพพี โดยเลือกผัก ที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง โดยเฉพาะผู้ป่วย ที่ร่างกายขับโพแทสเซียมออกได้น้อย ผักเหล่านั้น ได้แก่ ผักกาดขาว เห็ดหูหนู บวบ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ตําลึง หอมหัวใหญ่ พริกหวาน ฟักเขียว กะเพรา โหระพา ใบแมงลัก

 

 

 

กินแบบลดมัน

แนะนําให้กินน้ำมันไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา เน้นให้เลือกอาหารที่ปรุงด้วยวิธีต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง ยำ และ เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา

 

 

หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ ติดมัน เครื่องใน เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ แหนม กุนเชียง

 

 

 

กินแบบลดเค็ม

มีเป้าหมายที่แท้จริงคือ กินเพื่อจํากัดปริมาณ โซเดียมไม่ให้เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งปกติเราจะได้รับโซเดียม จากอาหารประจําวันที่ไม่เติมเครื่องปรุงใด ๆ วันละประมาณ 800 มิลลิกรัมอยู่แล้ว ส่วนอีก 1,200 มิลลิกรัมเป็นโซเดียมในเครื่องปรุง คุณเอกหทัยอธิบายว่า

 

“กินไม่ให้เกินโควตา ต้องกินจืด คือใช้น้ำปลาหรือซีอิ๊วขาว วันละไม่เกิน 3 ช้อนชา ทําได้โดยการงดพฤติกรรมกินไปปรุงไป ปรุงอาหารก่อนชิม และลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิดลงจากเดิม ที่สําคัญคือ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปทุกชนิด เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ผัก / ผลไม้ดอง หรือเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก แหนม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว

 

 

 

“หากยังไม่สามารถกินอาหารรสจืดตามที่บอกได้ เริ่มต้นอาจใช้ วิธีลดเครื่องปรุงลง 25 เปอร์เซ็นต์ก่อน เมื่อเริ่มคุ้นชินกับรสชาติ จึงปรับลดลงอีก ค่อย ๆ ตั้งเป้าหมายในการกินโซเดียมหรือลด เครื่องปรุงให้ได้ตามเกณฑ์ที่แนะนํา สุดท้ายใครก็สามารถกินจืดได้”

 

กินแบบลดเนื้อ หรือลดโปรตีน

เพื่อลดภาระการทํางานของไต จากการกรองของเสียหลังกินโปรตีน ดังนั้นกินโปรตีนมาก ไตยิ่ง เสื่อมเร็ว แต่หากกินน้อยไปจนร่างกายไม่พอใช้ ร่างกายก็จะมีกลไก สลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้แทน สุดท้ายไตจึงจําต้องกรอง ของเสียปริมาณมากอยู่ดี คุณเอกหทัยอธิบายว่า

“ดังนั้นแนะนําให้กินเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา 6–8 ช้อนแกง ต่อวัน หลีกเลี่ยงนม โยเกิร์ต ชีส รวมถึงถั่วต่าง ๆ และลดการ กินข้าวแป้งในบางมื้อ โดยเปลี่ยนมากินวุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ ซึ่งนอกจากมีโปรตีนต่ำ ยังมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ช่วยควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย”

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate